ทำไมคุณถึงควรดีใจที่ลูกดื้อ เกี่ยวกับ "EF" อย่างไร

<h1>ทำไมคุณถึงควรดีใจที่ลูกดื้อ เกี่ยวกับ “EF” อย่างไร</h1>

“เด็กดื้อ คือเด็กฉลาดจริงไหมคะ คุณครู?” 
คุณแม่ท่านหนึ่งถามขึ้นมาในการประชุมผู้ปกครอง ก่อนที่ผมจะตอบอะไรออกไป คุณแม่ก็สมทบมาอีกว่า 
“คุณแม่รู้สึกว่าลูกดื้อมากเกินไป บอกอะไรก็ไม่ฟัง ให้ทำอะไรก็ไม่ยอมทำ ไม่เหมือนลูกคนอื่นเค้าเลย จะต้องทำอย่างไรดีคะ”
เมื่อลูกดื้อ ขอบอกเลยว่า “ได้โชค 2 ชั้น เพราะเกี่ยวข้องกับ EF (Executive Function) และโอกาสพัฒนาลูกเต็มๆ”

.

โชคชั้นที่ 1 ลูกดื้อ แปลว่า สมองส่วน “EF (Executive Function)” ของลูกทำงาน สร้างการเรียนรู้

ก่อนอื่นเลยเราต้องมาเข้าใจธรรมชาติของเด็กกันก่อน เด็กทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับสมองที่ต้องการเรียนรู้ และการเรียนรู้นั้นเกิดได้จากการทดลอง ในกรณีนี้ขอให้ “เข้าใจลูก” มาสังเกตก่อนว่าที่เค้าดื้ออยู่นั้น เค้ากำลังเรียนรู้ผ่านการทดลองอะไรอยู่หรือเปล่า เพราะในการทดลองของสมองนั้น จะมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเรา….” 

.

เช่น จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราไปอาบน้ำตามที่แม่บอก ผลที่ได้คือแม่ชื่นชม การทดลองนี้ส่งผลเชิงบวก สมองก็จะเรียนรู้และจดจำไว้ แต่ไม่จบเพียงเท่านี้ สมองยังคงต้องการเรียนรู้ด้วยแนวคิดที่ต่างไป นั่นคือสมองกำลังจะทำการทดลองครั้งต่อไปว่า ในสถานการณ์เดิม ถ้าไม่ทำเหมือนเดิม ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เมื่อแม่เรียกอาบน้ำครั้งต่อไป ก็เลยเกิดการทดลองต่อต้าน และครั้งนี้แม่ไม่ชื่นชม ซึ่งสมองก็ได้เรียนรู้เช่นกัน และสมอง EF (Executive Function) ของมนุษย์ในวัยเด็กนั้น คือการทดลองและเก็บข้อมูลแบบนี้วนไปเรื่อยๆ

.

โชคชั้นที่ 1 ข่าวดีให้กับคุณแม่ท่านนั้น 

การที่ลูกดื้อ แปลว่า สมองของเค้ายังทำงานอยู่ ยังคงสร้างการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 .

โชคชั้นที่ 2 เปลี่ยนพฤติกรรมลูกด้วยการ “เข้าใจลูก” เป็นโอกาสในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย

สิ่งที่ผมฝากกับคุณแม่ท่านนั้นไป คือ ต้องแยกให้ออกว่า ลูกกำลังต่อต้านเพื่อการทดลอง ซึ่งจะได้รับการเรียนรู้ หรือกำลังต่อต้าน เพราะเค้ารู้สึกไม่ปลอดภัยกับสถานการณ์นั้นๆ กันแน่ ขอย้อนกลับไปที่สถานการณ์เดิม คือเรียกอาบน้ำแล้วเค้าดื้อ ไม่ยอมไป แต่ครั้งนี้ไม่ใช่การทดลอง แต่เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ หรือ Self Expression ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากในศตวรรษนี้ 

.

การไม่ยอมไปอาบน้ำครั้งนี้ เค้าแสดงออกถึงความไม่ปลอดภัย เค้าอาจจะเคยทดลองแล้วพบว่าการเชื่อแม่ ไปอาบน้ำนั้น เค้ารู้สึกเป็นอันตราย มันคือภัยคุกคาม ซึ่งเค้าไม่ต้องการที่จะเข้าสู่สถานการณ์นั้นอีก จึงแสดงออกทางอารมณ์ต่อต้าน ดังนั้นคุณแม่ต้องจัดการโดยเข้าใจลูก ทำความเข้าใจถึงภัยคุกคาม นั่งพูดคุย หรือชวนให้สมองส่วนอารมณ์นิ่งก่อน แล้วสมองส่วนเหตุผลหรือ EF (Executive Function) กลับมาทำงานอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ผลลัพธ์มันจะแตกต่างจากเดิม และนี่คือจุดเปลี่ยน ที่คุณแม่จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเค้าได้ เพียงแค่เข้าใจก่อนว่าจะรับมืออย่างไรดี เพราะถ้าคุณแม่ยังคงใช้วิธีเดิม คือการบังคับ หรือออกคำสั่ง สิ่งที่จะตามมาก็คือ เค้าอาจจะยอมด้วยร่างกาย แต่ภายในนั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้างไม่สามารถรู้ได้เลย ซึ่งมันคือจุดเริ่มต้นของอาการ ดื้อเงียบ เก็บกด และซึมเศร้าในที่สุด

.

มาแก้ปัญหาลูกดื้อ ด้วย EF (Executive Function) กันครับ
https://geniusschoolthailand.com/course/พัฒนาลูกแบบก้าวกระโดดด/

.

บทความโดย

นุกูล ลักขณานุกุล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า