เทคนิคจากคลาส "อบรมพ่อแม่" อยากเข้าใจลูก ควรทำอย่างไร

คำถามจากคลาส อบรมพ่อแม่ ที่อยากมาเล่ากันในนี้วันนี้คือ
“ทำไมลูกฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่?”
คำถามที่พ่อแม่วัยรุ่นมักถามเสมอๆ
ครูอยากจะถามกลับว่า แล้วพ่อแม่ล่ะ ฟังลูก แบบได้ยินความต้องการจริงๆ ของลูกครั้งสุดท้ายเมื่อไร หรือเป็นเพียงการฟังแบบ “รอจะพูด” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ “พ่อแม่ยุคใหม่” ต้องใส่ใจ และให้ความสนใจกับลูกมากๆ
.
จริงหรือไม่ ที่ครอบครัว ควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดของลูกๆ
ถ้าจริงเรื่องราวทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าระหว่างแม่และเด็ก มีสายใยความปลอดภัยที่ส่งถึงกันตลอดเวลา แม่ “เข้าใจลูก” ได้ และเมื่อเวลาที่เด็กต้องการความปลอดภัย เด็กก็จะกลับบ้าน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากบ้านไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา เขาก็ต้องหาสถานที่ใหม่ เป็นที่พักพิงใจ รวมถึงคนใหม่ที่ไม่ใช่ “แม่” แล้วใครล่ะที่จะมาทดแทนความรู้สึกนั้นได้ ถ้าไม่ใช่ “เพื่อน”
.
แน่นอนที่สุด บ้านคือสถานที่ที่ให้ความปลอดภัยกับร่างกาย
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ภายในจิตใจของลูกนั้น มองว่าบ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัยหรือเปล่า
เพราะภายในจิตใจของลูกไม่ได้ต้องการสิ่งปลูกสร้างใดๆ ให้ความรู้สึกปลอดภัย แต่จะเป็นความรู้สึกห่วงใย เอาใจใส่ และให้อิสระ
.
กลับมาถามครอบครัวเรากันดีกว่า ว่าเราเป็นบุคคลที่ปลอดภัยสำหรับลูกเราหรือไม่ เค้าอยากเข้ามาคุย อยากเข้ามาปรึกษาหรือเปล่า ถ้าเขาคุยกับเราแล้วมันไม่สนุก ไม่ได้รับอิสระ เจอแต่การตีกรอบ ต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้ แล้วเค้าจะยังอยากอยู่ต่อไปไหม
.
อีกมุมหนึ่งที่ต้องคอยย้ำพ่อแม่ไว้เสมอคือ เมื่อน้องๆ โตขึ้น ได้รับการศึกษา การเรียนรู้ที่มากขึ้น เค้าย่อมอยากออกไปพบเจอคนใหม่ๆ ไปค้นคว้า ไป ค้นหาตัวเอง ไปผจญภัยกับคนใหม่ หรือที่เรียกว่า “เพื่อน” เค้าไม่ได้จะทอดทิ้ง เค้าแค่จำเป็นจะต้องปรับตัว และคุณเองก็เช่นกัน
.
สุดท้าย อยากให้ลูกฟังเรา ก็อย่าลืมฟังลูก นี่คือคำตอบของคำถามว่า
ทำไมลูกจึงฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
ก็เพราะว่า เพื่อนฟังลูกมากกว่า จริงไหม?
.
ถ้าหากอยากเข้าใจลูก อยากให้ลูกพูดคุยกับเราได้ทุกเรื่อง ต้องมาปรับจูนกันสักหน่อย!!
.
3 วิธี เข้าใจลูก ที่ พ่อแม่ยุคใหม่ ต้องรู้
1. สังเกตการณ์
ดูว่าเขาชอบอะไร โดยใช้ความรู้สึกที่เป็นกลาง อย่าเพิ่งเอาตัวเองไปใส่
.
2. ถามตรงๆ ในสิ่งที่เราสังเกตเห็น
เพื่อดูว่าเขามีเหตุผล หรือมีแนวคิดอย่างไร กับพฤติกรรมที่เขากำลังทำอยู่
.
3. ให้โอกาสในการแสดงความคิด
ชักชวนให้เขาคิดในมุมของเราบ้าง จากสิ่งที่เราคิด เขาคิดอย่างไร
.
สุดท้ายคุณต้องพร้อมเปิดใจรับฟัง และพร้อมที่จะอยู่ในโลกของเขา ซึ่งในครั้งแรกๆ อาจจะไม่ค่อยได้ผล แต่เมื่อทำต่อเนื่องไปเรื่อย เราจะกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เขาจะเข้ามาพูดคุยและแบ่งปันโลกของเขาให้เราฟัง
.
นอกจากนี้ เราก็จะสามารถบอกให้เขาได้รับรู้ว่าโลกของเราเป็นอย่างไร และได้โอกาสในการที่จะพูดคุยกันตรงไปตรงมา เสมือนเป็นเพื่อนกันได้แล้วล่ะ
.
คลาส อบรมพ่อแม่ เพื่อเข้าใจลูกด้วยการเป็น “พ่อแม่ยุคใหม่” ที่มีทักษะการฟัง และเข้าถึงลูก
https://geniusschoolthailand.com/course/onlinecourse/
.
มารู้จักกับศาสตร์ Talent Dynamics เพื่อให้เด็กๆ รู้จักตัวเอง
https://www.geniusschoolthailand.com/seminar/talent-dynamics
.
บทความโดย
นุกูล ลักขณานุกุล