ลูกไม่ชอบเรียนหนังสือ พ่อแม่จะฝึก EF ลูก เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างไร

<h1>ลูกไม่ชอบเรียนหนังสือ พ่อแม่จะฝึก EF ลูก เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างไร</h1>

ลูกไม่ชอบเรียนหนังสือ หรือโรงเรียนไม่น่าไป

ถ้าถามผมว่า “ตอนเด็กชอบไปโรงเรียนมั้ย???”

ยอมรับตามตรงว่า “ไม่ชอบเลย” ผมมีปัญหากับการไปโรงเรียนทุกเช้า ตั้งแต่เด็กจนระดับถึง ป.6 แย่ขนาดที่ตอนนี้ยังถูกล้อจากคนในครอบครัวเลยว่า ทุกเช้าจะต้องได้ยินเสียงเด็กคนหนึ่งคร่ำครวญ “ไม่ไปโรงเรียน ไม่ไปโรงเรียน” แล้วใครมีลูกแล้วมีอาการแบบนี้บ้างหรือเปล่าครับ

.

และผู้ใหญ่ก็คงคิดเป็นห่วงว่า เด็กที่ตอนเช้าร้องไห้งอแง ไม่ไปโรงเรียนทุกวัน จะเรียนเป็นอย่างไรนะ? อนาคตจะเป็นอย่างไร? 
ผลคือ ไม่น่าเชื่อว่าผลการเรียนของเด็กคนนั้นอยู่ในระดับที่ดี อยู่ในอันดับเลขตัวเดียวมาตลอดจนถึงมัธยม เพราะได้รับคำบอกจากคุณปู่ว่า ไม่ต้องสอบได้ที่ 1 แต่ต้องได้เลขตัวเดียว เหมือนเป็นความรับผิดชอบที่ไม่ว่าจะไม่ชอบการไปเรียนแค่ไหน แต่ต้องสอบได้เลขตัวเดียว

.

ถ้ามองย้อนไป เด็กที่ไม่ชอบไปโรงเรียน ไม่ได้เท่ากับเรียนหนังสือไม่ได้ดี แต่แค่มีอะไรบางอย่างที่ไม่ชวนให้อยากไปเท่านั้นเอง

.

จากวันนั้นถึงวันนี้ ปัญหาเด็กไม่ชอบเรียนหนังสือก็ไม่ได้ลดลงเลย มีเด็กหนีเรียน เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้น สังคมก็จะมองว่า ปัญหาอยู่ที่เด็ก แต่ลืมมองไปว่า โรงเรียนหรือห้องเรียนเองหรือเปล่าที่มันชวนให้ไม่อยากเรียน

.

มีการสำรวจจากเด็กๆ วัยเรียน พบว่าสาเหตุน่าสนใจที่ทำให้โรงเรียนไม่น่าไปมีอยู่หลายปัจจัย มาดูว่าแต่ละปัญหา เราจะแก้กันอย่างไร และฝึก EF (Executive Function) ได้อย่างไร

.

1. ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม (ทำไมต้องเรียนสิ่งนี้ )

ต้องยอมรับว่า ยุคนี้เป็นยุคที่ข้อมูลความรู้เร็วแค่คลิก แถมเครื่องมือช่วยทดแรงก็มีเยอะแยะ ซึ่งจริงๆ แล้วทุกเนื้อหาในตำราในหลักสูตรล้วนมีประโยชน์ (แต่จำเป็นมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่กับการนำไปใช้งานในอนาคต) เพียงแต่การที่จะบังคับให้เรียน เพียงเพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้สอบหรือเป็นหลักสูตรที่เขียนมาไม่เพียงพอสำหรับเด็กยุคนี้ที่จะทำให้สนใจอยากเรียนเหมือนยุคเก่าๆ สมัยเรายังเด็ก แม้จะไม่ชอบ แต่ก็จำใจทำ จำใจเชื่อ (อีกอย่างไม่มีสื่ออื่นที่น่าสนใจมาแย่งความสนใจมากเหมือนสมัยนี้)

.

ถ้าคุณครูไม่สามารถขาย WHY ขายความคิดได้ว่า การเรียนเรื่องนี้แล้วจะเกี่ยวข้องกับชีวิตเด็กๆ อย่างไรบ้าง (นอกจากใช้สอบ) หรือจะทำให้ชีวิตดีมีประโยชน์จากการเรียนเรื่องนี้ได้อย่างไร สมองของเด็กก็ดูจะปิดไม่อยากรู้ ไม่อยากเรียน ในโรงเรียนทางเลือกบางระบบ ให้ความสำคัญกับ WHY นี้เป็นอันดับแรก ก่อนการเรียนเรื่องใหม่ๆ เรื่องใดก็ตาม กิจกรรมสำคัญถือเป็นหน้าที่ของผู้สอนคือการทำให้เด็กเกิดความ “ว้าว” เรื่องนี้ดีจัง น่าเรียน น่าสนุก แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากๆ อย่าง ปีธากอรัส ก็ตาม (โรงเรียนแนว มอนเตสซอรี่ Montessori จะเริ่มจากความสนใจเด็กเป็นสำคัญ) คิดดูว่าการเริ่มต้นในเรื่องหนึ่งที่สมองบันทึกไว้ว่าเรื่องนี้น่าสนใจ การเรียนต่อไปจะมีบรรยากาศแบบไหน

.

ถ้าพ่อแม่อยากให้แก้ไขเรื่อง เด็กไม่ชอบเรียน เป็นหน้าที่ของคุณพ่อแม่คุณแม่ที่จะต้องทำหน้าที่ การขาย WHY ให้กับลูกๆ ให้ผ่าน ถ้าโรงเรียนไม่ได้ทำให้ หรือทำได้ไม่ดีพอ เพราะถ้าท่าทีของพ่อแม่ต่อบทเรียนของลูกก็คือ เรียนอะไรยากจัง เรียนไปทำไม(วะ) ไม่เห็นได้ใช้ ไม่มีทางเลยที่จะบอกให้ลูกตั้งใจเรียนเถอะแล้วลูกจะเชื่อตามนั้น จริงหรือไม่

.

2. ไม่ได้เรียนในสิ่งที่สนใจ สิ่งที่ชอบ

ไม่ว่าจะระบบการเรียนแบบปัจจุบันหรือสมัยพ่อแม่ยังเด็ก ยังคงเป็นการเรียนแบบ อาหารชุด A la carte จัดมาให้กิน (ก็กินไปเถอะ) และไม่มีโอกาส ค้นหาตัวเอง ตั้งแต่ระดับจนถึงมัธยม เพิ่งจะเลือกเองได้ ก็ระดับอุดมศึกษา ทำให้ถูกจำกัดความรู้อยู่แค่ในระดับที่จัดให้ ซึ่งก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่สมัยพ่อแม่ไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะถ้าสนใจอย่างอื่น สื่อที่มีคือ หนังสือในห้องสมุด ในขณะที่ปัจจุบันความรู้ เรื่องราวไปไกลเกินมากมายเกินกว่าแค่ระบบสุริยจักรวาลแล้ว เด็กๆ สมัยนี้รู้จักไปจนกาแล็กซี่อื่นแล้ว ถ้าสนใจเรื่องดวงดาวจักรวาลในตำราก็จำกัดแค่ให้รู้เท่าที่รู้ จะไม่ให้เด็กเบื่อห้องเรียนได้อย่างไร มันมีอะไรน่าสนใจกว่าแค่ 8 กลุ่มสาระวิชาไปไกลแล้ว

.

หน้าที่พ่อแม่ ถ้าในโรงเรียนไม่ได้ทำเรื่องที่น่าสนใจบ้างเลย (อาจจะไม่ได้อยู่ใน 8 กลุ่มสาระวิชา) ช่วงนอกเวลาเรียน เสาร์อาทิตย์ก็ยังบังคับให้เรียนเสริม กวดวิชาแต่เรื่องเหล่านั้นอีก เตรียมใจได้เลยว่า ลูกจะหาทางติดเกมแน่นอน เพราะอย่างน้อยก็ได้ทำในเรื่องสนุกๆ บ้าง ในช่วงเวลาอันเล็กน้อยที่พอจะแทรกไปได้ทุกช่วง ไม่อยากให้ลูกทั้งเบื่อโรงเรียน และติดเกมเพิ่ม ในช่วงนอกเวลาเรียน ปล่อยให้ลูกได้มีเวลาอิสระ Free time หรือให้ได้เรียน ทำกิจกรรมที่ลูกสนใจเองบ้าง ไม่ต้องไปกำกับการใช้เวลาของลูกทุกวินาที เพื่อให้เด็กได้ ค้นหาตัวเอง มีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่สนใจบ้าง

.

3. การวัดผลแบบเดียว ตัดสินทุกอย่าง

ระบบการวัดผลในโรงเรียนออกแบบมาเพื่อทำให้ง่าย แต่มันวัดผลความรู้ความสามารถของคนได้จริงหรือ พูดถึงการสอบ เชื่อว่าภาพที่ปรากฎขึ้น ไม่ว่ายุคไหนก็จะเหมือนกันคือ เป็นห้องใหญ่ แยกโต๊ะใครโต๊ะมัน ห่างกัน 1 เมตร มีครูเดินตรวจ จับตามองตลอดเวลา แค่เห็นห้องสอบก็รู้สึกมวนท้องขึ้นมาทันที ทั้งที่การสอบควรจะเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ร่ำเรียนมา เพื่อให้รู้ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ซึ่งการทดสอบความรู้ มีตั้งหลายวิธี เช่นการทำโปรเจคโดยใช้ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา การสอบปากเปล่าเพื่อให้ได้เล่าอธิบาย การนำเสนอผ่าน Presentation ตามที่ถนัด

.

หน้าที่พ่อแม่ ลองชวนลูกคิดต่อว่า จะนำสิ่งที่เรียนมาสรุปความเข้าใจในรูปแบบอื่นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน คลิปสนุกๆ งานศิลปะหรืออะไรก็ตามที่อาจจะสรุปหรือต่อยอดความเข้าใจเดิม ให้กำลังใจลูกข้ามช็อตไปเลยว่า การเข้าใจของลูกในระดับนี้ดีกว่าแค่สอบมาก เพราะสามารถต่อยอดหรือใช้งานได้จริง ผลสอบมีความสำคัญก็จริงแต่มีผลไม่นานเท่าไหร่ แต่ความรู้จะติดตัวลูกไปตลอด สิ่งที่จะบอกก็คือ ถ้าเราไม่ไปกดดันแค่การสอบ ผลสอบของลูกแต่เพียงอย่างเดียว ก็จะไม่เป็นการซ้ำเติมความเบื่อ ความไม่ชอบโรงเรียนให้มากขึ้น

.

การศึกษายุคใหม่ ไม่เหมือนคนยุคเรา

มาถึงตรงนี้ พ่อแม่หลายคนอาจจะรู้สึกว่า ทำไมการเลี้ยงเด็กสมัยนี้ถึงได้ยุ่งยากจัง ไม่เห็นเหมือนสมัยเราเลย พ่อแม่สั่งอะไรก็ต้องทำ ทำทั้งๆ ไม่ชอบก็ได้ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรแบบนี้ แถมพ่อแม่ของเราก็ไม่เคยต้องใช้ความพยายามอะไรมากขนาดนี้เพื่อให้ลูกสนใจเรียน เพราะการเรียนคือหน้าที่ของเด็กอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องเหนื่อยขนาดนี้ ก็คงได้แต่บอกว่า เพราะเด็กยุคเราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับการได้ดูมือถือก่อนพูดได้ ไม่ได้มีสื่อที่เข้าถึงได้ 24 ชั่วโมงแบบเด็กยุคนี้ เด็กๆ รู้เรื่องราวรอบโลก เรื่องในประวัติศาสตร์ เรื่องราวนอกโลก เรียกว่าอยากรู้เรื่องไหนมีคำตอบให้ได้หมด เรื่องในตำราเรียนจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ ถ้าคิดแทนเด็กแบบเข้าใจ ลองคิดดูสิว่า ถ้าเรารู้เรื่องจักรวาลไปจนกาแล็กซี่อื่นแล้ว เราจะยังสนใจแค่ดวงจันทร์หรือแค่ดาว 7 ดวงในระบบสุริยจักรวาลอีกมั้ย

.

นอกจากนี้ ด้วยความกว้างไกลของเทคโนโลยี เด็กๆ เค้าก็รู้เหมือนที่เรารู้ (บางทีอาจจะรู้มากว่าด้วยซ้ำ) ว่าอะไรกำลังจะหายไป อะไรคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเค้าเมื่อเค้าโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กๆ เค้ามีความคิดของตัวเองและคิดได้ว่าควรจะสนใจกับอะไร (แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ล้าสมัยแบบตำราเรียนแน่นอน) พ่อแม่จึงต้องเข้าใจลูกและปรับตัวให้ทันกับความคิดของคนรุ่นใหม่ เป็นการดีกว่าที่จะชวนกันมองถึงอนาคต เตรียมลูกให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลง โดยเคร่งเครียดกับคะแนนและผลสอบให้น้อยลง เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ให้ความสำคัญกับความใฝ่รู้มากกว่าแค่ตัวความรู้ ให้เป็นนิสัยติดตัวไปจนโต

.

มารู้จักกับศาสตร์ Talent Dynamics เพื่อช่วยให้เด็กๆ ค้นหาตัวเอง ได้เร็วกว่าเดิม
https://geniusschoolthailand.com/course/talent-dynamics/

.

เข้าใจการเทคนิคการสอนลูกด้วย EF (Executive Function)
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/

.

บทความโดย

นุกูล ลักขณานุกุล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า