ลูกถูก Bully แก้ด้วย EF ได้อย่างไร
ลูกถูก Bully แก้ด้วย EF ได้อย่างไร

“ไอ้อ้วน ไอ้ดำ ไอ้เตี้ย…”

เมื่อเข้าโรงเรียน สิ่งที่แทบทุกคนต้องเจอคือ การโดนล้อจากรูปร่างหน้าตา บุคลิก ปมด้อย การตั้งชื่อฉายา การล้อชื่อพ่อแม่ การแกล้งเปิดกระโปรง ดึงกางเกง ดึงเก้าอี้ตอนนั่งทำให้ล้ม เอาร้องเท้าไปทิ้งถังขยะ เอาการบ้านไปซ่อน การแกล้งกันมีตั้งแต่เบาะๆ ไปจนการแกล้งที่โหดร้าย สร้างบาดแผลในจิตใจมาจนโตก็มี สมัยก่อนเรียกว่าโดนแกล้ง สมัยนี้รู้จักกันในนามว่า Bully ซึ่งกลายเป็นประเด็นในสังคมที่พ่อแม่ คุณครูให้ความสำคัญที่ต้องสอดส่องดูแลมากขึ้น และต้องเร่งส่งเสริม EF (Executive Function) ให้กับเด็กๆ โดยด่วน

.

BULLY หมายความว่าอย่างไร

คำว่า แกล้งอาจจะดูเบา แต่พอเป็นคำว่า Bully ฟังดูรุนแรง แต่คำถามก็คือ แค่ไหนเรียกว่า แค่แกล้งกัน แค่ไหนถึงกลายเป็น Bully

.

Bully ตามความหมายของ Cambridge Dictionary

to hurt or frighten someone, often over a period of time, and often forcing that person to do something they do not want to do:

.

การทำให้ใครเจ็บ หรือทำให้กลัวเป็นระยะเวลาหนึ่ง และบังคับขู่เข็นให้คนอื่นทำในสิ่งที่เขาไม่ได้เต็มใจทำ นั่นคือความหมายตามพจนานุกรม แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ แค่ไหนถึงจะเป็นการ Bully สำหรับลูกของเราต่างหาก

.

ระดับความทนได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน

พื้นเพนิสัยของเด็กแต่ละคนมีความทนทาน หรือความรู้สึกตอบโต้กลับ ในเรื่องต่างๆ ไม่เท่ากัน พูดง่ายๆ คือ มีบางกลุ่มที่เปราะบางกว่า กระทบกระเทือนใจง่ายกว่า และอีกบางกลุ่มที่มีแข็งแรงกว่า ไม่ค่อยรู้สึกอะไรง่ายๆ หรือมีภูมิมากกว่า

.

ตัวอย่างเช่น เด็กบางคนพอเดินเข้ามาในห้อง แล้วเป็นจังหวะเพื่อนหยุดพูดพอดี

– เด็กกลุ่มเปราะบาง จะรู้สึกไม่สบายใจ กังวลใจว่าจะถูกนินทา หรือทำอะไรผิด มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับตัวเองหรือเปล่า

– เด็กกลุ่มทนทาน อาจจะไม่ได้ทันสังเกตด้วยซ้ำว่า มีการหยุดพูดคุย ทำภารกิจของตัวเองไม่ได้สนใจคนอื่น หรือไม่ได้สนใจเข้าไปร่วมวงสนทนาทันทีโดยไม่ได้คิดอะไรเลย

.

คำเดียวกัน สถานการณ์เดียวกัน อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับบางคน แต่อาจเป็นเรื่องใหญ่มาก สำหรับเด็กบางคน ไม่ได้มีเส้นแบ่งว่า คำนี้เรียกว่า Bully แล้ว คำนี้แค่หยอกเล่น เพราะระดับการรับได้ของเด็กแต่ละคน ไม่เท่ากันมาจากพื้นนิสัยติดตัว และมาจากการเลี้ยงดู บ้านที่พูดจาสุภาพ เลี้ยงดูแบบทะนุถนอมสูง กับบ้านที่โผงผาง พูดคำแรงๆ ล้อเลียนแรงๆ กันเป็นเรื่องปกติ เด็กในแต่ละสภาพแวดล้อมย่อมมีความทนทานรับได้ต่างกัน

.

ตรวจสอบระดับความทนได้ของลูก

คำถามสำคัญก็คือ แล้วลูกๆ ของเราล่ะ มีระดับการรับได้แค่ไหน พ่อแม่เคยรู้หรือไม่?
และจะส่งเสริม EF (Executive Function) ในเวลานี้ได้อย่างไร?

.

จะรู้ได้ต่อเมื่อมีการพูดคุยกันยามในปกติ ขอย้ำว่าในยามปกติ ไม่ใช่กำลังมีประเด็นที่เกี่ยวกับลูกโดยตรงอยู่ หรือทะเลาะกันกับใครอยู่ สามารถลองยกสถานการณ์ตัวอย่างในทีวี ในคลิปที่มีการ Bully การแกล้งกัน (ดูระดับให้เหมาะกับวัยของลูกด้วย) เช่น คลิปของฝรั่งที่แกล้งกันให้ขำอยู่เยอะ ลองถามความรู้สึกของลูกดูว่า รู้สึกอย่างไร เป็นการเปิดเรื่อง แล้วค่อยๆ ถามต่อว่า เคยถูกเพื่อนแกล้งมั้ย ลูกไม่พอใจเวลาเพื่อนแกล้งแบบไหน หรือพูดแบบไหนมากที่สุด ให้ลูกค่อยๆ เล่าเหตุการณ์นั้นมา โดยระลึกเสมอว่า ไม่ได้เล่าเพื่อจะไปซักทอดพยาน หรือตัดสินใคร โดยเฉพาะหากลูกเอ่ยถึงเพื่อนที่แกล้งลูก หรือสิ่งที่ลูกตอบโต้กลับก็ตาม ถ้าลูกสัมผัสได้ว่า การเล่าออกไปจะทำให้ลูกหรือเพื่อนลูกไม่ปลอดภัยเพราะจะถูกเอาเรื่องได้ เด็กบางคนจะหยุดการเล่าทันที

.

จงจำไว้เสมอว่า จุดประสงค์ของการพูดคุยคือการรู้ระดับความรับได้ของลูก รู้ความคิดความรู้สึก นิยามที่แท้จริงของคำว่า โดน Bully ของลูกเป็นอย่างไร

.

อย่าพูดว่า “เรื่องแค่นี้เองหรอ”

อย่างที่บอกไปว่า หากลูกของเราเป็นเด็กที่เปราะบาง แม้เรื่องจะดูเล็กน้อยในสายตาเรา แต่มันใหญ่มากในความรู้สึกลูก แล้วก็ไม่จำเป็นต้องปลอบโยนในเรื่องที่ผ่านมาแล้ว แค่รับฟังและเข้าใจ เพราะเด็กที่เปราะบางมีแนวโน้มจะสะเทือนใจซ้ำขึ้นมาอีก เหมือนถูก Bully อีกครั้งได้ หรือถ้าจะดีกว่า คือการชื่มชมว่า เก่งมากที่สามารถผ่านมาได้

.

หาปมในใจให้เจอ

ถ้าได้ฟังลูก รู้ว่า ลูกรู้สึกแย่กับเรื่องไหน ถ้าทำได้และลูกยอมเปิดใจต่อ การพูดคุยในระดับที่ลึกขึ้นว่า ทำไมเรื่องนั้นจึงได้กระทบจิตใจของลูก มีเรื่องอะไรลึกไปกว่านั้น โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยประถมปลายขึ้น คุณจะได้เข้าใจความรู้สึก ความคิดลึกๆ ในใจของลูกมากขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมว่า ห้ามวิจารณ์ติเตียน ฟังอย่างเข้าใจเหมือนเป็นเพื่อนดีที่สุด

.

ช่วยลูกรับมือกับการ BULLY อย่างมีแบบแผน

ไม่ว่า ระดับการทนของลูกจะอยู่ระดับไหนก็ตาม สิ่งที่ควรทำต่อมาคือ การซักซ้อมแผนการรับไว้ล่วงหน้า หากมีเหตุการณ์แกล้งเกิดขึ้นจริง มีเด็กผู้ชายตัวโตใช้กำลังต่อยเพื่อนตัวเล็กๆ จนถูกคุณครูลงโทษว่าแกล้งเพื่อน ทั้งที่ความจริงคือ เด็กตัวเล็กสุดแสบนั้นต่างหากที่เป็นคนแกล้งล้อจนเด็กตัวโตทนไม่ได้ พอเกิดเรื่องราวขึ้น สังคมมักตัดสินจากสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น หรือมีเด็กผู้หญิงที่ต้องทนโดนเพื่อนไถเงินทุกวัน เพราะไม่กล้าบอกใคร

.

เด็กๆ ไม่รู้หรอกว่า ควรจะรับมือกับการแกล้งนั้นอย่างไร ถ้าไม่เคยได้ถูกเตรียมตัวมาก่อน ก็เหมือนการฝึกวิชาป้องกันตัวให้ลูก กรณีจะมีใครเข้ามาท่าไหน ต้องรับมืออย่างไร เพื่อจะได้หนีได้ทัน เด็กที่เคยถูกฝึกเตรียมพร้อมมาจะรับมืออย่างมีสติ ผิดกับเด็กที่ไม่เคยถูกเตรียมตัวจะพลาดพลั้งได้ง่าย

.

เพื่อจะเตรียมลูกรับมือกับการโดนกลั่นแกล้ง Bully ด้วย EF (Executive Function) ทำได้โดยการคุยกันตั้งแต่แรกว่า หากโดนแกล้งแบบนี้ จะทำอะไรเป็นขั้นๆ ไป เพราะส่วนใหญ่คนที่แกล้งก็คือ เพื่อนๆ ไม่ใช่คนร้ายทั่วไป ให้ลูกร่วมช่วยกำหนดขั้น เช่น

.

ขั้นที่ 1 บอกกล่าวตักเตือน ว่าไม่ชอบอย่าทำอีก

ขั้นที่ 2 เสียงดังขึ้น สั่งให้หยุดหรือต่อว่าแรงขึ้น จับหรือใช้แรงห้ามเพื่อนไม่ให้ทำเป็นการตักเตือน

ขั้นที่ 3 เลี่ยงการต้องเผชิญหน้าให้มากที่สุด

ขั้นที่ 4 บอกคุณครูหรือผู้ใหญ่ให้จัดการ

ขั้นที่ 5 บอกพ่อแม่ผู้ปกครองของคู่กรณี

ขั้นที่ 6 ลงมือกลับบ้าง (แล้วแต่กรณีเช่น เด็กผู้ชายอาจจะมีบ้างแต่ต้องยอมรับผลว่า จะต้องโดนลงโทษทั้งสองฝ่ายแน่ๆ) เป็นต้น

.

อันนี้ต้องแล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม เพื่อลดการตอบโต้รุนแรงทันทีสำหรับเด็กผู้ชายและลดการยอมอยู่ตลอดเวลาของเด็กผู้หญิงที่เปราะบาง ให้เด็กๆ รู้ว่า มันมีทางแก้อะไรอื่นๆ ที่จะทำได้บ้างเพื่อแก้ปัญหานี้

.

BULLY แบบทำร้ายร่างกายเรื่องนี้ต้องไม่ทน

การตั้งใจทำให้บาดเจ็บทางร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องไม่ให้ลูกทนเด็ดขาด เพราะเป็นการละเมิดต่อร่างกายคนอื่น เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ต้องบอกลูกว่าห้ามยอมทนหากได้รับการกลั่นแกล้งที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างจงใจ

.

การสอนให้รู้จักปกป้องสิทธิของตัวเองไม่ให้ใครละเมิดและรวมไปถึงการเอาเรื่องกับคู่กรณี ที่เป็นเพื่อนก็ตาม จะได้ไม่มีนิสัยละเมิดสิทธิคนอื่นด้วยการทำร้ายคนอื่นตั้งแต่ยังเด็กอีก นับเป็นการช่วยเหลือปกป้องไม่ให้ทำเช่นนี้ไปจนเป็นผู้ใหญ่ อาจต้องได้รับโทษจากกฎหมายบ้านเมืองจริงๆ

.

การไม่ให้ลูกยอมคือการให้ลูกบอกคุณครูที่ลูกไว้ใจ เข้ามาช่วยเหลือหรือบอกผู้ใหญ่ที่เป็นกลางเพื่อเข้ามาช่วยดูแลหากได้รับการกลั่นแกล้งทางร่างกายจนได้รับบาดเจ็บโดยเจตนา

.

เมื่อลูกถูก BULLY ถึงในห้องนอน

เทคโนโลยี โลกออนไลน์ทำให้เด็กๆมีสังคมออนไลน์อย่างอิสระ สิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ การโดน Bully จากการแสดงความเห็นอย่างรุนแรง ยิ่งหมกมุ่นอยู่กับสังคมออนไลน์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้รับการถูกทำร้ายจาก คำวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

.

นักเลงคีย์บอร์ด มีมากขึ้นทุกวัน การให้ร้ายโดยไม่มีมูลความจริง ข่าวปลอม ข่าวมั่ว การแชร์ส่งต่อกันโดยไม่ตรวจสอบความจริง สร้างปัญหาคนไปทั่วโลก ผลกระทบที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์สร้างปัญหาในโลกชีวิตจริงมามากมายทั่วโลก ในสังคมโลกออนไลน์ของเด็กๆก็เช่นกัน การแสดงความเห็นที่รุนแรงหรือการส่งต่อข่าวๆมั่วให้เพื่อนได้รับความเสียหายเป็นการโดน Bully ถึงในห้องนอน เพราะเด็กๆอยู่กับสื่อออนไลน์จนเข้านอน

.

Cyber Bully นับวันยิ่งทวีความรุนแรง น่ากลัวมากกว่า การถูก Bully ที่โรงเรียนเสียอีก เพราะการแพร่ะกระจายที่รวดเร็วและเสพสื่ออยู่ตลอดเวลา เหมือนยิ่งตอกย้ำขยายปัญหา การถูกแกล้งที่โรงเรียน บางครั้ง ย้ายโรงเรียนก็จบแต่ Cyber Bully ตามติดไปกับมือถือทุกที่

.

สร้างภูมิต้านทานด้วย Self Esteem และการปล่อยวาง

เด็กที่มีเจ็บปวดกับการความเห็นได้ง่าย มักจะมีความนับถือตัวเองหรือ Self-Esteem ต่ำ EF (Executive Function) พัง พูดง่ายๆ คือไม่ค่อยมั่นใจในความมีดีของตัวเอง เด็กมักจะมองตัวเองด้อยกว่าคนอื่น ไม่สวย ไม่เก่ง ไม่รวย ไม่ฉลาด ไม่มีคนรัก รากฐานมาจากการได้รับความรักความเอาใจใส่ไม่เพียงพอ

.

คำวิจารณ์ต่างๆ จึงมีผลกับความรู้สึก กระเทือนจิตใจมากกว่าคนทั่วไป คนที่เปราะบางมาก อาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้ โดยฉพาะวัยรุ่นซึ่งเป็นวันที่อยู่กับสื่อเยอะ และจิตใจอ่อนไหวง่าย

.

สิ่งที่ต้องเร่งทำคือ ฟื้นฟู ยกระดับความมั่นใจในตัวเอง ทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวให้ได้ แต่ละคนมีดีของตัวเอง สิ่งที่ช่วยลูกได้คือ การมองย้อนดูความสำเร็จในอดีตว่า ลูกสามารถทำอะไรเจ๋งๆ มาได้ตั้งเยอะ ลูกเป็นคนเก่งคนหนึ่ง และพ่อแม่ภูมิใจในตัวลูก

.

สองคือ ฝึกปล่อยวางบ้าง เพราะความจริง มันก็คือ ข้อความหนึ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มันผ่านไปแล้ว แต่ที่ลูกยังเจ็บปวดเพราะลูกไม่ยอมคิดว่ามันคือ ข้อความที่ผ่านมาแล้ว หมดชีวิตไปตั้งนานแล้ว คนเขียนไปคิดเรื่องไหนแล้วก็ไม่รู้ แต่ลูกยังคิดเรื่องเดิมอยู่เลย

.

สุดท้าย การฝึกฝนจิตใจ ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะมีอะไรเข้ามากระทบ หากโลกภายในของลูกแข็งแกร่ง มันก็ทำร้ายอะไรไม่ได้มาก จะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับลูก

.

คลาส อบรมพ่อแม่ และ อบรมครู เพื่อเข้าใจวิธีการจัดการเด็กที่ถูก Bully และการ Coaching
https://geniusschoolthailand.com/course/onlinecourse/

.

คลาส EF (Executive Function) เพิ่มเทคนิคในการสอนและพูดคุยกับเด็กๆ
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า