ลูกอยู่มัธยมแล้ว ยังพัฒนา "EF" ได้อยู่หรือไม่

<h1>ลูกอยู่มัธยมแล้ว ยังพัฒนา “EF” ได้อยู่หรือไม่</h1>

สายไปแล้วหรือยัง ที่สมองของลูกเราจะพัฒนาทักษะ EF (Executive Function) 

ทักษะสมอง EF (Executive Function) พัฒนาสูงสุดตอน 3-6 ขวบ แต่ลูกเราอยู่มัธยมแล้ว ทำไงดี?
พ่อแม่หลายคน กำลังกังวลว่า ฉันไปอยู่ที่ไหนมา ทำไมมารู้เรื่องนี้เอาตอนที่ลูกโตแล้ว 
อย่าเพิ่งตกใจไปครับ ยอมรับก่อนว่ามันสายไป แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ไข หรือพัฒนาไม่ได้เลย

.

งานวิจัยด้านการพัฒนาการสมอง EF (Executive Function)

หากติดตาม “หมอประเสริฐ” หรืองานวิจัยด้านพัฒนาการสมอง EF (Executive Function) มาอย่างต่อเนื่องจะเห็นว่าตามทฤษฎีของการพัฒนาสมองนั้น สมองจะถูกพัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงวัย 3-6 ปี ซึ่งนั่นเป็นงานวิจัยที่ได้รับการยืนยันและใช้ในการวิเคราะห์ รวมถึงการวางแผนการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ มาเป็นเวลานาน แต่การที่อายุของลูกเราที่เกินมาแล้วนั้น สังเกตดูดีๆ ว่ายังมีโอกาสที่พัฒนาการเหล่านั้นจะเติบโตได้อีก แต่จะยุ่งยากกว่าตอนเด็กๆ เพราะในตอนนี้จากเดิมมีแค่ เรา (พ่อแม่) กับลูกๆ แต่ตอนนี้มี สภาวะแวดล้อมโดยรอบ เพื่อน คุณครู สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี เข้ามาเพิ่ม คราวนี้มันขึ้นอยู่กับความร่วมมือของ 3 ฝ่าย แล้วล่ะ คนที่จะเริ่มก่อนควรเป็นใครดี …
แน่นอน ไม่พ้น คุณพ่อคุณแม่หรอก จริงไหม

.

ขั้นตอนการพัฒนา EF (Executive Function) ให้กับเด็กโต จากโรงเรียนพ่อแม่

.

1. พ่อแม่ เปิดใจรับฟังลูกๆ แบบใจกว้างๆ ต้องใจกว้าง กว้างให้มาก ถ้ายังไม่พอ ก็ต้องกว้างขึ้นอีก เพราะตอนนี้ ลูกเรามีความคิด มีข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่เรา จุดเริ่มต้นที่จะส่งเสริม หรือจะพัฒนาสมองให้กับลูกๆ มัธยมก็คือ ใจต้องกว้าง ให้ลูกได้พูด ได้แสดงความคิด แสดงตัวตนของเค้าออกมา

.

2. เปิดโอกาสให้ลูกๆ ได้คิดแนวของการเรียนรู้ ผ่านการทดลอง โดยให้เค้ามองหาสิ่งที่สนใจ และนำเสนอว่าอยากทำอะไรในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น อยากเล่นกีตาร์ 3 เดือน พ่อแม่มีหน้าที่กำหนดงบประมาณ และตั้งคำถามเรื่องความเสี่ยงต่างๆ ข้อนี้ต้องทบทวนให้มาก สิ่งที่พ่อแม่มักจะพลาดไปทำลาย EF (Executive Function) แทนที่จะสร้างคือ ระวังมากไป พร้อมกับคำพูดทำลายสมอง เช่น อย่าทำเลย เหนื่อยนะ มันยากไปไหม เป็นต้น

.

3. พ่อแม่มีหน้าที่ให้การยอมรับ และเปิดใจอนุญาตให้ทดลอง โดยควบคุมความเสี่ยง 

.

4. ให้ลูกๆ มาสรุปผลการทดลองเหล่านั้นตามช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้

.

5. เริ่มการทดลองครั้งใหม่

.

สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หากคุณทำสิ่งเหล่านี้ พัฒนาการสมองที่พร้อมจะเติบโต จะถูกกระตุ้นให้คิดและให้เรียนรู้เพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น พัฒนาการของสมองอาจจะชะลอลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะหยุดการเจริญเติบโตลงทั้งหมด หากได้รับการส่งเสริม และกระตุ้นอย่างถูกต้อง สมองก็จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และนี่คือสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์ นั่นคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ เขาจะสามารถอยู่รอดได้จากทุกสถานการณ์ได้อย่างแน่นอน

.

คลาส อบรมพ่อแม่ เพื่อเข้าใจการพัฒนาเด็กๆ ด้วย EF (Executive Function) :
https://geniusschoolthailand.com/course/พัฒนาลูกแบบก้าวกระโดดด/

.

บทความโดย

นุกูล ลักขณานุกุล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า