ลูกไม่กล้าเถียงครู สัญญาณไม่ดีที่ "พ่อแม่ยุคใหม่" ต้องสนใจ

“อย่ามาเถียง”
เสียงตวาดดังออกมาจากห้องพักครู
.
นั่นคือเสียงที่ทำให้เด็กชายเล็กกลัว และติดอยู่ในใจของเด็กชายเล็กทันที และตั้งแต่นั้นมา เด็กชายเล็กก็ไม่เคยที่จะเถียงคุณครูอีกเลย ลองมาคิดกันหน่อยสิว่า มันหมายถึงอะไร เด็กชายเล็กเป็นเด็กแบบไหนกัน ถึงได้กล้าที่จะเถียง และอะไรที่ทำให้เค้าเลิกที่จะเถียง แล้ว “พ่อแม่ยุคใหม่” คิดว่า เด็กที่เถียง เป็นเด็กแบบไหนกัน?
.
โรงเรียนพ่อแม่ ของ Genius School เราจะบอกเสมอว่า “ไม่มีเด็กคนไหนอยากเป็นเด็กไม่ดีแต่กำเนิด มนุษย์ทุกคนเกิดและเติบโตมาต่างก็ต้องการการยอมรับ คำชื่นชมจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่มีเด็กคนไหนที่อยากเป็นเด็กไม่ดี” แต่สิ่งที่สังคม คุณครู พ่อแม่ คอยตีเส้นว่าเด็กแบบไหนเรียกว่า เด็กดี เด็กแบบไหนเรียกว่า เด็กดื้อ กรอบความคิดแบบนี้ต่างหากที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งกลายเป็นเด็กไม่ดีแบบที่เด็กชายเล็กเป็น
.
เด็กเถียง คือเด็กที่กล้าแสดงออก
การโต้เถียง เป็นการแสดงออกถึงความต้องการแสดงมุมมอง หรือแนวคิดในรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ เมื่อสิ่งที่ได้รับ หรือได้ยิน ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องตามความเข้าใจ การโต้แย้ง โต้เถียงก็เริ่มขึ้น เรื่องการโต้เถียงในตัวเด็ก เป็นเรื่องที่ปกติจากประสบการณ์ของเค้านั้นจะมีน้อยกว่าผู้ใหญ่ ความเข้าใจในโลก ความเข้าใจในธรรมชาติยังน้อยอยู่ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดคำถามในใจมากมาย เกิดแนวคิดที่โต้แย้ง และถูกขับดันออกมาเป็นการเถียง และนั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เค้ามีมุมมอง มีแนวคิดของตัวเอง และมีความกล้าพอที่จะแสดงออกมา “พ่อแม่ยุคใหม่” จึงควรใส่ใจตรงนี้ และกันมาเข้าใจลูกด้วยการตั้งคำถามเชิง EF (Executive Function) กันดีกว่า
.
เด็กไม่เถียง เป็นเด็กดีหรือดื้อเงียบกันแน่
เมื่อเด็กต้องการแสดงออกทางความคิดผ่านการพูด แต่กลับโดนหาว่าเถียง และโดนลงโทษในรูปแบบต่างๆ ก็จะส่งผลให้ เกิดการกระทำใหม่ขึ้นกับตัวเด็ก เหมือนที่เด็กชายเล็กเป็น นั่นคือเมื่อเถียง เมื่อแสดงความคิดแล้ว กลับโดนลงโทษ แต่การทำตามกลับปลอดภัย สมองจะประมวลผลทันทีเลยว่า เราควรเลือกทางที่ปลอดภัย นั่นคือ เลิกเถียง แต่ภายในใจนั้น ยังคงมีแนวคิดที่ต่อต้าน ซึ่งนำมาสู่การดื้อเงียบ และถ้าหากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบเดิม ดื้อไม่ได้ เถียงไม่ได้ สมองจะเริ่มปรับการเอาตัวรอดไปสู่ขั้นถัดไป คือ เลิกคิด หรือก็คือทำตามที่สั่งเท่านั้น
.
การแสดงออกทางอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็น
“พ่อแม่ยุคใหม่” ต้องให้โอกาสกับเด็ก “คุณครูยุคใหม่” ก็เช่นกัน แต่ถ้าหากเราเอาแต่ห้าม เอาแต่เบรก แน่นอนที่สุด เราคงได้แต่เด็กดื้อเงียบ และนั่นคือสัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ ถ้าเป็นที่โรงเรียนก็คงต้องขอเปลี่ยนคุณครู แต่ถ้าเป็นที่บ้านแล้วล่ะก็ คุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะที่จะต้องรู้วิธีจัดการเรื่องนี้เอาเอง
.
คลาส Genius System เพื่อ อบรมพ่อแม่ และ อบรมครูออนไลน์
https://geniusschoolthailand.com/course/onlinecourse/
.
คลาสพัฒนาลูกให้ก้าวกระโดดด้วย EF (Executive Function)
https://geniusschoolthailand.com/course/พัฒนาลูกแบบก้าวกระโดดด/
.
บทความโดย
นุกูล ลักขณานุกุล