วิธีทำโทษเด็กดื้ออย่างสร้างสรรค์จาก "โรงเรียนฟินแลนด์"

<h1>วิธีทำโทษเด็กดื้ออย่างสร้างสรรค์จาก “โรงเรียนฟินแลนด์”</h1>

“ครูฟินแลนด์” จัดการอย่างไรกับเด็กดื้อ
ก่อนอื่นต้องมาให้นิยามกันก่อนว่า เด็กดื้อแปลว่าอะไร? 
เพราะสิ่งที่ “ครูฟินแลนด์” ทำนั้น คือให้อิสระในความคิด แต่ให้มีวินัยในชีวิต และสอนให้รู้จักเวลา แนวทางการสร้างวินัยของเขา เป็นแนวที่เรียกว่าการสร้างวินัยเชิงบวก และเป็น Active Learning เน้นให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังทั้งทางกายและจิตใจ

ถ้าเด็กดื้อ คือการที่ไม่ยอมอยู่นิ่งๆ นานๆ อันนี้ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจใหม่

.

ผมได้มีโอกาสได้ไปดู “โรงเรียนฟินแลนด์” ทำให้ได้เข้าใจหลักคิด วิธีการจัดการเรียนการสอนของที่ฟินแลนด์มากขึ้น

.

“โรงเรียนฟินแลนด์” จะออกแบบการเรียนรู้ให้เด็กมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมตลอดเวลาแบบ Active Learning ตารางกิจกรรมของเขานั้นจะสลับกันตลอด เช่น 40 นาทีนี้อยู่ในห้องเรียน อีก 40 นาที ออกไปเล่นในสนาม หมดเวลาเข้ามาในห้องเรียนใหม่ สลับไป

.

คำถามคือ เด็กคนนึงจะอยากหนีออกไปข้างนอกทำไมในเมื่ออีก 40 นาทีก็ได้ไปแล้ว และเมื่อฝึกแบบนี้เค้าก็จะรู้คุณค่าของเวลา

.

จากนั้นสิ่งที่เราได้ไปเจอก็คือ การทำงานฝีมือ การทำงานช่าง ถึงตะชอบหรือไม่ชอบก็ตามของเด็ก ป.3 ที่ใช้เลื่อยตัดไม้ด้วยตัวเอง ตอกตะปูติดกาว ใช้อุปกรณ์ทุกอย่างแบบเดียวกับผู้ใหญ่ พร้อมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เพื่อความปลอดภัยอยู่ทั้งตัว ซึ่งการทำงานแบบนี้ก็เป็นการสอนให้รู้จักรับมือกับสถานการณ์จริง มีโอกาสที่จะงานผิดพลาด

.

สิ่งที่เค้าสอนกันก็คือ พลาดก็ไปหยิบชิ้นใหม่ และจงตั้งใจมากขึ้น และสิ่งสุดท้ายเลยที่ทำให้เด็กทุกคนดูเหมือนจะไม่ดื้อเลย ตอนจบคลาส คุณครูก็จะมาชวนคุยว่าวันนี้รู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ชอบ/ไม่ชอบตรงไหน มีแนวคิดอย่างไร

.

เมื่อเด็กได้แสดงออกทั้งทางร่างกายและความคิด ตลอดเวลาพร้อมกับมีผู้รับฟังอยู่ แล้วทำไมเค้าจึงจะต้องแสดงอาการขัดแย้งผู้ใหญ่ สิ่งที่เราต้องคิดกันให้ดีว่า จริงๆ แล้ว เด็กดื้อแปลว่าไม่ทำตามเรา แค่นั้นใช่หรือไม่ หรือเพราะเค้าต้องการแสดงความเป็นตัวเอง แต่เราต่างหากที่ไม่เคยเปิดโอกาสนั้นให้กับเขา

.

อีกส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่าเป็นเด็กวัยรุ่นที่ฮอร์โมนเริ่มที่จะพลุ่งพล่าน การแสดงออกก็จะเปลี่ยนไป หากหงุดหงิด ไม่พอใจ “ครูฟินแลนด์” ก็มีพื้นที่ให้ระบายวิธีการง่ายๆ ก็คือ ในพื้นที่การเรียนการสอน ก็จะมี “กระสอบทราย”
ใช่!! กระสอบทรายสำหรับชกมวยนี่ล่ะ กับบาร์เหล็กเอาไว้โหน

.

ถ้ามีอารมณ์หงุดหงิดนัก โมโหจัด ก็ไปเลย ไปเอาแรงออก เหนื่อยแล้วก็กลับมาทำงานต่อ กลับมาเรียนต่อ
เพราะอารมณ์มันขึ้นได้ ก็ไปหาทางระบาย ไม่ใช่มาเก็บงำไว้ แล้วก็กลายมาเป็นอาการของคนเก็บกด

.

ถ้าเราเข้าใจในพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เข้าใจว่าทำไมเขาจึงต้องทำแบบนั้น และให้โอกาสเค้าได้แสดงออก พร้อมรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ ก็คงเหลือคำถามสุดท้าย เค้ายังใช่เด็กดื้อในสายตาเราอีกหรือไม่?

.

คลาส อบรมพ่อแม่ และ อบรมครูออนไลน์ เพื่อเข้าใจเด็กแบบครูฟินแลนด์
https://geniusschoolthailand.com/course/onlinecourse/

.

บทความโดย

นุกูล ลักขณานุกุล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า