
“เป็นครูสมัยนี้ ยากมาก”
“เด็กดื้อ ไม่สนใจฟังเลย”
“ท้อใจ พูดไปเท่านั้น เด็กไม่ฟัง”
.
เป็นครูสมัยนี้ ยากกว่า ครูสมัยก่อนจริงหรือ?
เด็กยุคนี้ ดื้อกว่า เด็กยุคก่อนจริงหรือไม่?
.
ขึ้นชื่อว่า เด็กกับการเรียน น่าจะเป็นทุกสมัย ถ้าไม่ต้องถูกบังคับมาให้มาโรงเรียน
เชื่อว่า เด็กๆ ทุกคนชอบที่ไปเล่นกับเพื่อน หรือทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่มาเรียน
.
เด็กยุค 4.0 เกิดมาพร้อมความไวไฮสปีด เติบโตบนแฟลตฟอร์มดูนิทานจาก YouTube ที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียงเพลง หนังสือนิทานก็เป็นหนังสือพูดได้ ไม่รวมเกมต่างๆ ที่มีภาพเคลื่อนไหวและเสียงอยากดูเมื่อไหร่ก็ดูได้ ไม่เคยต้องรอตอนต่อไป ทำให้สิ่งที่เด็กยุคนี้ไม่คุ้นชิน คือ ความสงบ ความเงียบ หรือการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ
.
ด้วยความเร็วในการเคลื่อนไหวระดับวินาที ที่ได้รับจากสื่ออยู่ตลอดเวลา ทำให้การสอนหน้าห้องที่ครูเคลื่อนไหวน้อยๆ เหมือนเป็นภาพนิ่งที่น่าเบื่อไปเสียแล้ว ถ้าเป็นครูแบบเดิม สอนนิ่งๆ ตามตำราจึงเป็นเรื่องยาก ที่จะจูงใจให้เด็กฟังครู
ดังนั้น!! หมดยุคยืนสอนหน้าห้องเฉยๆ แล้ว
.
มาเพิ่มทักษะ Facilitator เปลี่ยนครูยืนสอนเป็น ครูฟา
สิ่งที่ครูยุคใหม่ต้องปรับตัวจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า บทบาทของคุณครู มันก็ไม่เหมือนเดิม ครูฟา เป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณครูจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการสอน และการเข้าถึงเด็กๆ ในยุคปัจจุบันนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เติบโตได้อย่างแข็งแรง และมีความสุขในยุคศตวรรษที่ 21
.
คำว่า ครูฟา หมายถึงว่า จะไม่ได้เป็นเพียง “ครู” ผู้ให้ความรู้ แต่จะเป็น “ฟา” (Facilitator) ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วย สิ่งสำคัญที่ ครูฟา ต้องมีก็คือ
1. เปิดโอกาสให้เด็กๆแสดงความคิด และมองหาจังหวะสอดแทรกการเรียนรู้ไปในประสบการณ์ของเด็กๆ
2. เปิดโลกอันกว้างใหญ่ในการเข้าถึงข้อมูลของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าจากอินเตอร์เนท หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ
3. เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆ และจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กๆพลาด เพื่อการเรียนรู้ เพราะการพลาดคือส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จในการเรียน
.
การเป็น ครูฟา เป็นความท้าทายนึงที่เกิดขึ้นกับครูทุกคน แต่ผลลัพธ์ที่จะเกิด คือเด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ และในตอนท้ายเด็กๆ ก็จะกลายเป็น “นักเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งนั่นจะทำให้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน เด็กๆ เหล่านั้นก็จะอยู่รอดอย่างแข็งแรง ปลอดภัย และมีความสุขได้เพราะเค้าเข้าใจตัวเองนั้นเอง
.
7 วิธี ยกระดับห้องเรียนสู่ Active Learning เพื่อให้ “ครูฟา” ดึงความสนใจให้เด็กๆ ไม่เบื่อกับการเรียนอีกต่อไป
.
1. Make room for Visual reflection – บอร์ดสะท้อนความคิด “ฟีดแบค บอร์ด”
สร้างเป็นบอร์ดให้ได้แบ่งปัน แสดงออก ทำให้เด็กๆ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อาจจะเป็นบอร์ดที่มีกระดาษโพสต์อิทสีต่างๆ มาเขียน หรือเพิ่มความสนุกโดยกำหนด หัวข้อสำหรับบอร์ดขึ้นมา เช่น
.
ความคิดดีที่อยากแบ่งปัน…
วันนี้ได้เรียนรู้ว่า…
ความรู้สึกของฉันวันนี้…
อยากบอกว่า…
ฉันสังเกตว่า…
หรือหัวข้ออะไรก็ตามที่จะทำให้เด็กๆ สนใจ
.
ที่สำคัญเมื่ออนุญาตให้เด็กๆ แสดงออก ครูฟา ก็ต้องเปิดใจกว้างกับความเห็นด้วยเช่นกัน
.
2. มอบหมายงานที่ต้องลงมือทำ มีส่วนร่วม
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการให้เด็กมีส่วนร่วม เด็กจะกลายเป็นเจ้าขององค์ความรู้นั้นเอง ครูฟา ควรมอบโจทย์ ที่เด็กๆ จะต้องนำไปขบคิด หาข้อมูลจากที่ต่างๆ แล้วนำมาหาคำตอบ ควรเป็นคำถามที่เปิดกว้างให้ได้คิด ต่อยอดจากสิ่งที่เรียน เช่น
.
จะเป็นอย่างไร หาก………
ถ้าโลกนี้ไม่มี…….. จะ…….
หรือความรู้เรื่อง…….(ที่เพิ่งเรียนจบ) ไปใช่ในเรื่อง…… นี้ได้อย่างไร
.
คำตอบที่ได้ไม่ควรมีผิดหรือถูก แต่จะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนคำตอบ ให้คนอื่นเชื่อว่าคำตอบนั้นน่าเชื่อถือ
.
3. Keep classroom layout flexible – ออกแบบห้องให้จัดรูปแบบได้หลากหลาย
เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบอะไรที่จำเจ การจัดผังห้องเรียนใหม่ จัดที่นั่งใหม่ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ทำให้บรรยากาศของห้องเปลี่ยนได้ เช่น จัดเป็นครึ่งวงเหมือนดูการแสดง จัดเป็นคู่ สับหว่าง เว้นห่างกันเกมโชว์ ถ้า ครูฟา คิดว่า ห้องเรียน คือ สตูดิโอ จัดเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้สนุก น่าสนใจดี หรือให้เด็กๆ ช่วยวางผังห้องรายสัปดาห์ก็ได้
.
4. ใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการเรียน
อย่ายึดติดกับหนังสือหรือ Powerpoint ตอนนี้มีสื่อดีและฟรีมากมายให้นำมาปรับใช้ ยิ่งเรียนออนไลน์ ยิ่งนำมาใช้ได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น TEDex ที่มีความรู้เกือบทุกแขนง Podcast Clip สามารถนำมาเปิดให้เด็กฟังได้ เปลี่ยนจากการดูครูสอน มาเป็นการฟังบ้าง อีกทั้งยังมี Google Earth สามารถเข้าไปดูภาพถ่ายดาวเทียมฟรีๆ ทั่วโลก Museum app คลิกเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในพริบตาได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย แบบนี้ ห้องเรียนของ ครูฟา ก็จะมีบรรยากาศเหมือนไปโรงหนัง ยิ่งเพิ่มอรรถรสไปอีก
.
5. Encourage Discussion – ส่งเสริมให้ถกปัญหา แสดงความเห็น
เด็กสมัยนี้ชอบการแสดงออก แสดงความเห็นในการเรียนการสอน จึงควรมีช่วงเวลาพิเศษให้ได้แสดงความคิดอย่างเหมาะสม และฝึกสมองอีกด้วย ครูฟา ควรเปลี่ยนหน้าที่จากครู เป็นผู้อำนวยการอภิปรายแทน เลือกใช้คำพูดที่ส่งเสริมการแสดงความเห็น ดังนี้
.
เป็นความคิดที่น่าสนใจ
ครูขอเสริมในประเด็น
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น
ครูเห็นเด้วยเพราะว่า
ครูมีมุมมองอื่นในเรื่องนี้
ครูยังไม่เห็นด้วยเท่าไหร่เพราะ
เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ
ทำไมถึงคิดอย่างนั้น
ช่วยขยายความเรื่อง หน่อยได้มั้
บอกตัวอย่างอีกสักนิดได้มั้ย
เป็นต้น
.
เพื่อให้เด็กๆ ไม่รู้สึกเสียหน้า เวลาแสดงความเห็นที่ดูไม่เข้าท่า และควรขอบคุณสำหรับการแสดงความเห็น และเป็นการฝึกนิสัยให้เด็กๆ คุ้นชินกับการเคารพความคิดเห็นของคนอื่น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เรามีสิทธิ์เห็นต่างได้ และคนอื่นก็มีสิทธิ์เห็นต่างจากเราได้เช่นกัน
.
6. Inspiration Quotes – แปะข้อความ ภาพเสริมกำลังใจ คำคม
คำคมดีๆ กับภาพสวยๆ เป็นโปสเตอร์แปะให้เด็กๆ เห็นอยู่เสมอ เพื่อโปรแกรมคำพูดดีๆ ลงไปในสมองของเด็กๆ โดยไม่รู้ตัว
.
7. Flexible homework – รูปแบบการบ้านยืดหยุ่นได้
เปิดกว้างให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดในการออกแบบการทำรายงาน หรือการบ้านในแบบที่ตัวเองสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการ์ตูนเป็นเล่ม ภาพวาด งานศิลปะต่างๆ เพลง MV เพลงแปลง ละคร หนังสั้น นิยาย ภาพถ่ายเล่าเรื่อง สต๊อปโมชั่น อนิเมชั่น เดี่ยวไมโครโฟน เกมโชว์ สิ่งประดิษฐ์ หรือหาวิธีจัดเป็นงาน Exhibition นำเสนอในรูปแบบที่เด็กๆ มีส่วนช่วยกันคิด นอกจากจะได้เพิ่มขีดความสามารถของเด็กๆ ยังเป็นการช่วยให้ค้นพบศักยภาพ หรือความถนัดได้อีกด้วย
.
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างในการเพิ่มสีสัน ทำให้ห้องเรียนสนุกขึ้น ครูฟา สามารถประยุกต์เลือกเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแนวของตัวเองได้ หรือคิดอะไรใหม่ๆ สนุกๆ ออกมาจูงใจเด็กๆ มากขึ้น แล้วห้องเรียนของ ครูฟา จะสนุกสนาน เด็กๆ สนใจกันมากขึ้น
.
มาเป็น ครูฟา ยุคใหม่กับคลาส อบรมครู ด้วยทักษะ Facilitator และสร้างห้องเรียนแบบ Active Learning
https://geniusschoolthailand.com/genius-facilitator/