สอนเรื่องเงินๆ ทองๆ กับเด็กอย่างไรให้มี "EF"

<h1>สอนเรื่องเงินๆ ทองๆ กับเด็กอย่างไรให้มี “EF”</h1>

การสอนเรื่องเงินๆ ทองๆ กับเด็ก ไม่ใช่การสอนให้เด็กเห็นแก่เงิน!!
แล้ว พ่อแม่และครูยุคใหม่ ควรสอนการเงินเด็กๆ อย่างไรให้เหมาะสม
เพื่อให้ใช้เงินอย่างรู้คุณค่า รู้การแบ่งเงินเพื่อใช้ เพื่อออม อย่างมี EF (Executive Function) ที่ดี

.

เราได้ยินคำพูดแบบนี้กันมาหลายครั้งว่า เด็กๆ ยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องเงิน ยังเด็กอยู่เลย แค่เรียนหนังสือก็พอแล้ว ความเชื่อแบบนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรียนในปี 2562 สูงมาก เฉลี่ยถึง 3 แสนกว่าบาท ต่อ 1 ครัวเรือน

.

ปัญหาครอบครัวอันดับหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการแตกแยก ครอบครัวไม่มีความสุข คือ “ปัญหาด้านการวางแผนการเงิน” ทั้งสิ้น ขึ้นเป็นอันดับ 1 ตลอดมา ในทุกๆการทำงานวิจัย ทุกๆ โพลของทุกสถาบัน จึงเห็นได้ชัดเจนว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้กันทั้งครอบครัว และเด็กๆ ควรถูกปลูกฝังอย่างจริงจังตั้งแต่เด็กๆ

.

ในโรงเรียน เด็กๆ เรียนรู้แค่การบวก ลบ คูณ หารเลขเท่านั้น จากนั้นก็ข้ามไปเรียนสูตรคณิตศาสตร์ ที่ยากเย็น แต่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

.

การเรียนรู้ ความเข้าใจเรื่องของเงิน ไม่มีโรงเรียนไหนสอน

ไม่มีตำราที่จะสอนเด็ก ตั้งแต่ยังเล็ก กลับกลายเป็นวิชา บัญชี ที่อยากยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยที่เห็น เดบิต เครดิตแล้ว ก็ต้องขยาดกันไป เอาจริงๆ แม้แต่นักบัญชีการเงิน บางครั้งยังบริหารเงินไม่เป็น เพราะเข้าใจแต่เดบิต เครดิต และสูตรทางไฟแนนซ์ ที่ยากจะเข้าใจ

.

วินัยการเงิน พื้นฐานสู่ความร่ำรวย ไม่เป็นหนี้จน

การเรียนรู้เรื่องเงิน คือการเข้าในว่าเงินคืออะไร ควรจัดการอย่างไร และทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นทาสของเงิน

.

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการการเงิน คือ “วินัย”

ดังนั้น การเข้าใจเรื่องเงินอย่างเดียวยังไม่พอ สำคัญมากๆ ที่พ่อแม่และครูยุคใหม่ จะต้องฝึกวินัยทางด้านการเงินให้กับเด็กๆ ตั้งแต่ยังเล็ก ยิ่งเข้าใจการเงิน มีวินัยทางการเงินอย่างมี EF (Executive Function) เด็กก็จะมีโอกาสเป็นผู้ที่ร่ำรวย ไม่ตกเป็นทาสของเงินเมื่อตอนโต

.

เงิน!! ในแต่ละช่วงอายุของเด็ก

6 ขวบ         

เริ่มจากให้ลูกรู้จักการจดบันทึกรายรับรายจ่าย ทุกวัน 

.

7 ขวบ         

เปิดบัญชีธนาคารให้ลูก ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ให้ลูกมีวินัยในการนำเงินออมไปเก็บไว้ 

และเข้าใจเรื่องดอกเบี้ย การให้เงินทำงานแทนเรา

.

7-10 ขวบ    

ให้ลูกวางแผนการเงินของตัวเอง เริ่มจากเป้าเล็กๆ ว่าอยากเก็บเงินก้อนแรกไปซื้ออะไร หรือ ทำอะไร 

เพื่อให้เค้าเห็นความยากลำบากในการเก็บเงิน ให้ลูกเริ่มมีรายได้จากการทำงานบ้าน 

ไม่ควรให้ค่าขนมเปล่าๆ โดยลูกไม่ได้ทำอะไร เพื่อให้เห็นคุณค่าของเงิน

.

10-12 ขวบ  

ให้ลูกวางแผนการเงินเป้าใหญ่ของตนเอง เช่นเก็บเงินเรียนระดับปริญญาด้วยตนเอง

ให้ลูกได้ลองทำการค้าขายเล็กๆ เพื่อเข้าใจ รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน 

.

12 ขวบขึ้นไป 

เริ่มสอนลูกเรื่องการลงทุนได้แล้ว

.

เท่านี้ คุณก็จะทำให้ลูกเข้าใจ รายรับ รายจ่าย การอดออม คุณค่าของเงิน การตั้งเป้าหมาย ความลำบากในการหาเงิน กำไรขาดทุน การลงทุน เช่นนั้นแล้ว เมื่อลูกคุณโตขึ้น ก็จะไม่เป็นคนที่หยิบโย่ง ใช้เงินเกินตัว ไม่เข้าใจเงิน จนสร้างปัญหาหนี้สิน แทนที่จะสร้างความมั่งคั่ง

.

คลาส อบรมพ่อแม่ และ อบรมครูออนไลน์ เพื่อเรียนรู้การจัดการเงินส่วนบุคคล และวางแผนเกษียณ
https://geniusschoolthailand.com/course/managing-your-life/

.

เข้าใจการฝึกวินัยให้เด็กด้วยการมี EF (Executive Function) ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการฝึกวินัยด้านอื่นๆ
https://geniusschoolthailand.com/course/พัฒนาลูกแบบก้าวกระโดดด/

.

บทความโดย

พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า