
เด็กดื้อ vs เด็กฉลาด ต่างกันอย่างไร
“เด็กดื้อ กับ เด็กฉลาด” มักจะมาคู่กันเสมอ
เพราะ เด็กฉลาด ที่กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเอง
ภายใต้การถูกคัดค้านโดยผู้ใหญ่
ก็มักจะถูกมองว่าเป็น เด็กดื้อ
.
ดังนั้นนิยามของคำว่า “เด็กดื้อ และ เด็กฉลาด”
ในแต่ละครอบครัวย่อมมีความแตกต่าง
เพราะส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักจะใช้การตัดสิน
มาจากประสบการณ์เก่าของตนเองที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
.
“เด็กดื้อ” มีพฤติกรรมดังนี้
– ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้บ่อยครั้ง
– โกรธ และอารมณ์เสียได้ง่ายบ่อยครั้ง
– ตั้งใจท้าทาย และฝ่าฝืนคำสั่งบ่อยครั้ง
– ทะเลาะกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้อื่นบ่อยครั้ง
– มีพฤติกรรมก่อกวนเพื่อตั้งใจสร้างการรบกวนผู้อื่นอยู่บ่อยครั้ง
.
ถ้าเด็กๆ มีพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น
ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 6 เดือน
อาจถือได้ว่า มีความดื้อมากกว่าเกณฑ์ปกติทั่วไป
ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องกลับมาเอาใจใส่
และหาสาเหตุของความดื้อนั้นไปพร้อมๆกับลูกอย่างจริงจัง
.
สาเหตุของความดื้อ
1.ลูกอาจจะเครียดจากการเขาไม่สามารถ
ทำได้ตามที่พ่อแม่คาดหวังไว้ จึงเกิดการต่อต้านพ่อแม่
2.ลูกอาจจะมีความเครียดจากการปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่
3.ลูกอาจขาดทักษะการเข้าสังคม อาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
4.ลูกอาจมีปัญหาทางการเรียน
ซึ่งอาจเกี่ยวกับปัญหาทางสมอง (Learning Disorder)
จึงเกิดความเครียด และกดดันตัวเอง
.
เด็กดื้อ หรือเด็กเรียกร้องความสนใจ
เป็นเพียงเส้นบางๆที่กั้นอยู่ในพฤติกรรมเหล่านี้
ก่อนที่พ่อแม่จะตัดสินว่าลูกเป็นเด็กดื้อ
ให้ลองหันกลับมาถามตัวเองก่อนว่า….
เราให้เวลาเขาเพียงพอหรือยัง?
.
“เด็กฉลาด” คือ เด็กที่ถูกตัดสินจากความสามารถต่างๆ
ที่เด็กทำได้ดี หรือดีกว่าพัฒนาการตามวัย
ซึ่งสามารถแบ่งความฉลาดออกเป็น 2 ประเภท
.
1. ความฉลาดทางสติปัญญา(IQ)
โดยพื้นฐานแล้วIQจะถูกส่งต่อมาทางพันธุกรรม
และในกรณีที่เด็กมี IQ น้อย ก็ไม่ได้หมายความว่า
จะไม่สามารถพัฒนาหรือเรียนรู้เพิ่มเติมได้
.
2. ความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
เป็นความสามารถในการรับรู้
และเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองและผู้อื่น
เกิดจากการเลี้ยงดู และการปลูกฝังพื้นฐานสำคัญ
ที่ทำให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง และคนอื่น
.
โดยทั่วไปธรรมชาติของเด็ก เรื่องดื้อถือเป็นเรื่องปกติ
เพราะวัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้
มีความอยากรู้อยากเห็น
รวมไปถึงทุกอย่างรอบตัวล้วนเป็นสิ่งใหม่
ที่น่าตื่นเต้นสำหรับพวกเขาตลอดเวลา
โดยเฉพาะพลังงานที่มีมากมายล้นเหลือ
.
การเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ และเอาใจใส่ในตัวเด็ก
สามารถช่วยทำให้เด็กที่ดื้อมากกว่าปกติ
กลับมาดื้ออย่างปกติตามวัย
ซึ่งเด็กที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างอิสระ
โดยที่มีผู้ปกครองคอยส่งเสริม
และจะส่งผลถึงให้เด็กพัฒนาได้ทั้ง
ความฉลาดทางสติปัญญา(IQ) และ (EQ)
โดยการปูพื้นฐานของEFตามพัฒนาการตั้งแต่ปฐมวัย