
“พ่อครับ เรามาทำน้ำมะนาวขายกันไหมครับ?”
เมื่อลูกพูดประโยคนี้ “พ่อแม่ยุคใหม่” ควรรู้สึกอย่างไรบ้าง?
แน่นอนที่จะต้องเกิดความสงสัย ความข้องใจ ข้อควรระวังมากมาย หรือคุณอยู่กับความภูมิใจ ลูกเราคิดได้ หรือว่าลูกเราจะแค่ทักขึ้นมาเล่นๆ กันนะ ในฐานะ “พ่อแม่ยุคใหม่” ควรทำอย่างไร แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ โรงเรียนพ่อแม่ ของเราได้สอนกันมาเสมอว่า “อย่าขโมยการเรียนรู้ของลูก” เพราะนี่คือสิ่งเลวร้ายสำหรับลูกเลยที่เดียว
.
ย้ำไว้กับตัวเองเสมอว่า ทุกสิ่งรอบตัวคือโอกาสในการเรียนรู้ของลูก และได้มีโอกาสในการ ค้นหาตัวเอง การทำน้ำมะนาวขายนี้ก็เช่นกัน
.
หยุดครับ หยุดความคิดนี้ก่อน
อย่าเอาความคิดว่า “นั่นมันจะทำให้เราเหนื่อย ทำเราลำบาก หรือความรู้สึกว่า มันจะต้องยากแน่ๆ” มายับยั้งการเรียนรู้ของลูก เพราะการขายของ หรือไอเดียการทำธุรกิจนี่ล่ะ คือสิ่งที่ การศึกษาศตวรรษที่ 21 ต้องการ และเป็นการฝึกทักษะสมอง EF (Executive Function) ด้วยเช่นกัน
.
เรามาดูกันดีกว่าว่า แล้วอะไรล่ะที่พ่อแม่ควรทำ แน่นอนว่าเราจะไม่ไปขัดขวางแนวคิด แต่เรามีหน้าที่ในการปรับจูนให้สิ่งที่คิด มันออกมาสู่โลก ในส่วนนี้ขอพูดถึงเด็กๆ ช่วง 6-15 ปีนะครับ ถ้าโตกว่านั้นไปแล้วบอกได้เลย ให้เขาได้ทดลองครับ ยิ่งอายุน้อย ได้ทดลองเยอะ ยิ่งได้ ค้นหาตัวเอง เยอะ หน้าที่คุณพ่อคุณแม่ให้กำหนดเรื่องงบประมาณไว้ก็พอ ที่เหลือให้เขาจัดการเอาเอง
.
ผมต้องการขายน้ำมะนาวให้กับคนในหมู่บ้านนี้ ตั้งโต๊ะขายที่หน้าบ้าน !!
เราจะต้องถามอะไร เพื่อสานต่อไอเดียลูกบ้าง?
.
1. What : หาภาพเป้าหมายที่ชัดเจน
ชวนคุยเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนและตรงกัน ให้ลูกเล่าออกมาครับ ว่าเขาคิดอะไรอยู่ ทำไมถึงอยากทำในส่วนนี้คุณไม่ต้องออกความเห็นนะครับ ฟังอย่างตั้งใจก็พอแล้ว ถ้าจะดีลองวาดแผนออกมาเป็น Mind map หรือขีดเขียนอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขาสามารถสื่อสารออกมา
.
2. Who : ทำขายใครดี
เมื่อได้ภาพชัดแล้วว่า ลูกต้องการขายน้ำมะนาว ก็เริ่มมาต่อที่ว่าจะขายให้กับใครบ้าง เพื่อจะได้เป็นกลุ่มแรกๆ ที่เราจะไปเชิญชวนมาซื้อขาย เมื่อถึงวันที่ลงมือทำจริง
.
3. Where : ขายที่ไหน
คุยกันต่อว่า ขายที่ไหน เป็นตั้งโต๊ะ หรือส่งให้ถึงหน้าบ้านลูกค้า นี่คือจุดสำคัญ หากคุณฟังอย่างตั้งใจ คุณจะเจอความน่ารักในตัวลูกคุณที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นมาก่อนก็ได้
.
4. How : มีกระบวนการอะไรบ้าง
ต้องทำอะไรบ้างให้ได้น้ำมะนาวนั้นมา งานนี้หลายอย่างจะเป็นสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก หน้าที่เราคือถามเขาว่า ต้องให้แม่ช่วยอะไรบ้างคะลูก แล้วหนูทำหน้าที่อะไร ใครช่วยอะไรตรงไหน ซึ่งตรงนี้ล่ะ เมื่อคุณแม่ได้ฟังเขามานานพอ ก็ถึงเวลาเสนอความเห็นได้บ้าง ถ้าทั้งหมดที่ลูกคิดมามันสามารถทำได้ ก็จัดไปเลยครับ แต่มันยิ่งใหญ่เกินไป อาจจะชวนคิดในแนว แม่ว่าลองปรับ ขยับมาทดลองแบบไหนที่ถนัดก่อน หรือที่พอทำได้ก่อนได้ไหม ใช้ของที่มีอยู่ก่อน เป็นต้น
.
จากนั้นก็ให้เกิดการทดลองจริง ได้ทำจริง อย่าให้ความคิดของเขาหายเข้าไปในกลีบเมฆ เป้าหมายของไอเดียธุรกิจเล็กๆ ตรงนี้ วันนี้อาจจะไม่ใช่การทำเงิน แต่มันคือการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้
.
สุดท้ายสิ่งที่พ่อแม่จะได้รับจริงๆ คืออะไร
หากลูกของตัวเองได้ลองทำธุรกิจส่วนตัวขึ้นมาตั้งแต่ยังเด็กอยู่ โดยมีเราเป็นผู้ช่วย ตัวคุณน่าจะคิดออก และสำหรับเด็กๆ นั้น เขาจะได้รับหลายสิ่งในชีวิตที่หาเรียนที่อื่นไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่รู้สึกได้ว่า คนที่บ้านรักและเป็นห่วง รับฟัง เข้าใจถึงคำว่าครอบครัว ได้เข้าใจว่าการทำธุรกิจ มีความรู้สึกอย่างไร เข้าใจการเปลี่ยนจินตนาการมาสู่โลกแห่งความจริง การฝึก EF (Executive Function) ในด้านต่างๆ และสิ่งที่จะถือว่าโชคดีมากๆ เลยถ้าหากธุรกิจนั้นไปไม่รอดในครั้งแรกๆ นั่นก็คือ
.
“ประสบการณ์ของการล้มแล้วลุก”
ล้มแล้วสู้ใหม่ ความไม่ยอมแพ้ตรงนี้ล่ะ ที่จะเป็นอาวุธติดตัวเขาไปในยามที่เติบโต และได้ลุกไป “ค้นหาตัวเอง” ในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป นั่นเอง
.
มารู้จักกับศาสตร์ Talent Dynamics เพื่อช่วยให้เด็กๆ ค้นหาตัวเอง ได้เร็วกว่าเดิม
https://geniusschoolthailand.com/course/talent-dynamics/
.
เข้าใจการเทคนิคการสอนลูกด้วย EF (Executive Function)
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/
.
บทความโดย
นุกูล ลักขณานุกุล