เปลี่ยนจากครูผู้สอน เป็นครูผู้สร้าง ด้วยโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (Professional Development) - GENIUS SCHOOL THAILAND

เปลี่ยนจากครูผู้สอน เป็นครูผู้สร้าง ด้วยโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (Professional Development)

<h1>เปลี่ยนจากครูผู้สอน เป็นครูผู้สร้าง ด้วยโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (Professional Development)</h1>

Genius School Thailand จัดตั้งโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (พัฒนาวิชาชีพครู) เพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนทั่วประเทศ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ การศึกษา จาก Teacher-Led Class หรือ การเรียนการสอนรูปแบบเดิมที่มีครูเป็นผู้สอน เป็นผู้มอบความรู้เป็นหลัก เปลี่ยนเป็นการสอนในรูปแบบศตวรรษที่ 21 ที่เน้น เด็กเป็นศูนย์กลาง หรือ Child-center Approach ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำ และเปลี่ยนความรู้เป็นประสบการณ์ โดยเน้นที่การพัฒนาทักษะ จุดแข็งของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น

.

Active learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือทำ และได้ใช้กระบวนการคิด เปิดโอกาสให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

.

Play-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้การเล่นแบบมีเป้าหมาย เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เช่น วัย 0-6 ปี พร้อมฝึกทักษะสมองส่วนหน้า หรือ Executive Function (EF)

.

Problem-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานของการเรียนรู้ เช่น การทำโครงงาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์จากชีวิตจริง สู่การเรียนรู้ค้นหาคำตอบด้วยการลงมือค้นคว้า ตั้งสมมติฐาน ปฏิบัติจริง วิเคราะห์ และสรุปผล

.

Research-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้โครงงานวิจัยเป็นฐานของการเรียนรู้ ปฏิบัติจริง เผชิญเหตุการณ์จริง สร้างสรรค์ผลงาน จากกระบวนการคิด การทำงานที่เป็นระบบ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ ปัญหา ค้นหาคำตอบจากการสืบค้น และวิเคราะห์ข้อมูล

.

Theme-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สาระเป็นฐานการเรียนรู้ ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ในด้านต่างๆ ผ่านหัวข้อหรือธีม จะช่วยให้เด็กๆ มองเห็น ซึมซับ เรียนรู้เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งของความรู้และทักษะ กับประสบการณ์ในชีวิตจริงรอบตัว เด็กๆ ได้สํารวจ เรียนรู้ เรื่องนั้นๆ ด้วยทัศนะและแง่มุมที่หลากหลาย

.

Brain-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้การพัฒนาสมองเป็นฐานในการเรียนรู้ จึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้ ทั้งในแง่การคิด ความรู้สึก และการลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน โดยไม่สกัดกั้นการทำงานของสมอง แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด 

.

Competency-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สมรรถนะเป็นฐานในการเรียนรู้ สนับสนุน Personalized Learning โดยเอาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ใช้เวลาและวิธีการอย่างยืดหยุ่นตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งกระบวนการเรียนรู้ โดยสอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum) 

.

Phenomenon-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นฐานในการเรียนรู้แบบโรงเรียนฟินแลนด์ ใช้ปรากฎการณ์ต่างๆ เป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยอาศัย แนวคิดพื้นฐานที่ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เอง (Constructivism) ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้้แบบ Active learning

.

ซึ่งในทุกรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ต้องการครู ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน ที่แตกต่างจากการเป็นครูในรูปแบบเดิม 

.

“เปลี่ยนจากครูผู้สอน เป็นครูผู้สร้าง”

.

เพราะถ้าครูไม่เปลี่ยนวิธีการสอน ครูยังมี Fixed Mindset หรือกรอบความคิดแบบเดิม สอนนักเรียนแบบเดิมๆ แม้จะมีวิธีการสอนแบบใด หลักสูตรดีขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนได้ 

.

เราจึงมีหลักสูตรในการพัฒนาครู (Reskill) เพื่อนำไปสู่การเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ (Professional Development) ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้านที่แตกต่างกัน การเตรียมความพร้อมของครู อาจารย์ ครูผู้ปกครอง ปราชญ์ชุมชน ในกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพร้อมที่จะสนับสนุน เด็กๆ ในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญ ถึอเป็นหัวใจสำคัญ (Key success) ในการพัฒนาเด็กยุคใหม่เป็นอย่างมาก

.

เปรียบเทียบลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม กับแบบฐานสมรรถนะ และ ทักษะที่เปลี่ยนไปของครู

ประเด็นแบบดั้งเดิมแบบฐานสมรรถนะทักษะที่เปลี่ยนไป
เนื้อหายึดตามตำราเรียนเป็นหลักตามกลุ่มสาระเรียนรู้ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนไม่ทราบชัดเจนว่าเรียนไปเพื่ออะไร ผู้สอนยึดตามตำรา ตามหน่วย และ แยกกันเรียนในแต่ละวิชา ไม่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาได้ และผู้เรียนไม่ทราบว่าจะนำไปใช้อย่างไรเมื่อจบหลักสูตรยึดที่ผลการเรียนรู้ หรือทักษะของเด็กเป็นสำคัญ โดยเน้นที่ทักษะชีวิต เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติจริง เชื่อมโยงความรู้ หลากหลายวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อเกิดทักษะสามารถนำไปใช้ได้จริง เมื่อจบหลักสูตร แบบดั้งเดิม ครูต้องเป็นผู้รู้ เพื่อมอบความรู้ 
แต่ในแบบฐานสมรรถนะ ครูต้องเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ได้ลงมือทำร่วมกัน ช่วยเหลือกันจากจุดแข็งของแต่ละคนเพื่อให้เกิดทักษะ
กิจกรรมการจัดกิจกรรมเป็นไปตามครูผู้สอน โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้บรรยาย สาธิต และกำหนดกิจกรรมทั้งหมด (Teacher-lead Activities) มีการสะท้อนกลับจากผู้เรียนเพียงเล็กน้อยการจัดกิจกรรมเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เลือกใช้สื่อที่หลากหลาย ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือก Theme เลือกกิจกรรมที่สนใจ กิจกรรมและสื่อ เน้นให้ลงมือทำ เพื่อเกิดทักษะตามที่กำหนด เน้นการวางเป้าหมายร่วมกัน และ ฟังการสะท้อนกลับจากผู้เรียนเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (Child-centered Apporach)แบบดั้งเดิม เป็นการสื่อสารแบบผ่านเดียว ผู้สอนเป็นผู้กำหนดทุกอย่าง ไม่ยืดหยุ่น
แต่ในแบบฐานสมรรถนะ ครูและผู้เรียนร่วมกันวางแผน เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการได้หลากหลาย ทำให้ครูต้องมี Growth Mindset พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน
ระยะเวลาให้เวลาผู้เรียนทุกคนภายในเวลาที่กำหนดเท่ากัน และเรียนบทเรียนต่อไปพร้อมกัน โดยแยกกันเรียน เป็นรายบุคคล ให้เวลาผู้เรียนแต่ละคนเพียงพอที่จะลงมือทำกิจกรรมต่างๆโดยเน้นให้เด็กๆร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ทำภารกิจให้สำเร็จ แบบดั้งเดิม ครูมีหน้าที่กำกับควบคุมให้ทุกคนอยู่ในกรอบบทเรียนต่างๆ
แบบฐานสมรรถนะ ครูมีหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนช่วยกันทำภารกิจให้สำเร็จ
การวัดและประเมินผลใช้ข้อสอบเป็นเกณฑ์ในการวัดผล เปรียบเทียบ ตัดสิน จัดลำดับในกลุ่มผู้เรียนใช้การวัดผลอิงสมรรถนะรายบุคคลโดยไม่มีการตัดเกรด และเปรียบเทียบกัน เน้นผลสำเร็จของผู้เรียนแต่ละคนแบบดั้งเดิม ครูนั่งตรวจข้อสอบในกระดาษเพื่อตัดเกรดให้กับเด็ก
แบบฐานสมรรถนะ ครูต้องมีทักษะการสังเกต และความเข้าใจในทักษะต่างๆ การเชื่อมโยง การประยุกต์ใช้ เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็กรายบุคคล

.

สนใจโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (Professional Development) ด้วยการสร้างครูเป็น Educator
https://geniusschoolthailand.com/genius-educator/

.

หรือติดต่อเราโดยตรง

LINE : @geniusschooolth

.

มาพัฒนาครูไทย 

เพื่อเด็กไทยของเรากันนะคะ

.

บทความโดย

พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า