
### 21 วิธีการโค้ชเด็กง่ายๆ
ที่พ่อแม่ทำได้ที่บ้าน ###
.
ทักษะทาง ‘อารมณ์และสังคม’
เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนนาน
แต่เป็นทักษะชีวิตสำคัญ
ที่จะติดตัวลูกไปตลอดชีวิต
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่
ควรฝึกทักษะการเป็น “โค้ชชีวิต”
ให้กับลูกในทุกช่วงวัยของเขา
.
นี่คือ 21 เทคนิค ที่พ่อแม่ทำได้
.
1. เชื่อมั่นในศักยภาพของลูก
ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เชื่อมั่นว่าลูกมีศักยภาพ
คอยมองหา และส่งเสริม
ศักยภาพของลูกแต่ละคน
.
2. ฝึกทักษะการตั้งคำถาม
ฝึกถามลูกอย่างสร้างสรรค์
เพื่อกระตุ้นให้ลูกเกิดกระบวนการคิด
และกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
.
3. ฝึกทักษะการฟัง
การฟังอย่างตั้งใจ
การฟังแบบไม่มีตัดสิน
การฟังความคิดของลูกจริงๆ
ต้องไม่ด่วนตัดสินใจ
จากกรอบความคิดของตัวเอง
.
4. ฝึกให้ลูกเข้าใจอารมณ์
ฝึกให้ลูกสามารถอธิบายได้ว่า
ตอนนี้เค้ารู้สึกอย่างไร
มีอารมณ์อย่างไร
โกรธ เศร้า เสียใจ ดีใจ กลัว
ตื่นเต้น สนุก รัก มีความสุข
.
5. ฝึกให้ลูกจัดการกับอารมณ์ลบ
ทุกคนโกรธได้ แต่ทำอย่างไร
จึงจะระบายความโกรธ อย่างถูกวิธี
เวลาเศร้า ควรทำเช่นไร
เวลาเสียใจ ควรทำเช่นไร
การจัดการเชิงบวกทำอย่างไรได้บ้าง
.
6. การให้เวลากับลูกแบบมีคุณภาพ
Quality Time ไม่ใช่ Quantity Time
หมายถึง การมีเวลาให้เยอะ แต่ไม่สนใจกัน
นั่งมองมือถือ อยู่ด้วยกันทั้งวัน
ก็เหมือนไม่ได้อยู่ด้วยกัน
ดังนั้น ถึงจะมีเวลาเพียงเล็กน้อย
ก็มีคุณภาพมากกว่าได้
.
7. ช่วยให้ลูกหาคำตอบด้วยตัวเอง
เวลาลูกมาปรึกษา
อย่าให้คำตอบทันที
เพราะนั่นคือคำตอบ จากวิธีการของคุณ
จากแนวคิดและประสบการณ์ของคุณ
เด็กสามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
เพียงคุณให้เวลากับเค้า
ช่วยตั้งคำถามให้เค้าค่อยๆ คิด
เค้าจะได้คำตอบในแบบของเค้าเอง
.
8. รู้จักขอโทษ
พ่อแม่ก็ทำผิดได้
เพราะพ่อแม่ ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
การ “ขอโทษ” ลูก
เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ
เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับลูก
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว
.
9. การให้ความสำคัญกับการกระทำ
มากกว่าผลลัพธ์
การกระทำสำคัญกว่าผลลัพธ์
อย่ารอชมตอนลูกสำเร็จ
ให้ชื่นชมในความตั้งใจ ความพยายาม
ความคิดสร้างสรรค์ การลงมือทำของลูก
เป็นการเสริม ให้เค้ามีทักษะที่ดีในอนาคต
.
10. กระตุ้นให้เค้ารับผิดชอบต่อเป้าหมาย
ชี้ให้เขาเห็นว่า เป้าหมายเป็นของเค้า
ไม่ใช่ของพ่อแม่
ให้เค้ารับผิดชอบ ลงมือทำจนถึงเป้าหมาย
จะล้ม จะพลาดกี่ครั้ง
ก็สนับสนุนให้เค้าไม่ล้มเลิกกลางคัน
.
11. ให้เขาคิด มากกว่า สั่งให้เขาทำ
เรามีหน้าที่ชี้แจง ผลดี ผลเสีย
ที่ “อาจจะ” เกิดขึ้นให้เขาฟัง
และให้เค้าคิด และเป็นคนตัดสินใจ
ลงมือทำด้วยตัวเอง
มากกว่าการสั่งให้เขาทำ
.
12. สนใจในสิ่งที่เขาสนใจ
ไม่ใช่บังคับให้เขาสนใจในสิ่งที่พ่อแม่สนใจ
แต่เราควรใส่ใจ ในสิ่งที่เขาสนใจ
ไม่ด่วนตัดสินในสิ่งที่เขาสนใจ
ฟังเหตุผล และ ความรู้สึกของเขาก่อนเสมอ
ให้เวลากับสิ่งที่เขาสนใจเสมอ
.
13. ฝึกความอดทนในการฟัง ด้วยรัก
คุณฟังลูกแบบตั้งใจฟัง
หรือคุณฟังลูก แบบพร้อมจะพูดสวน
พร้อมจะสั่งสอน
และ พร้อมจะบอกไอเดียของคุณ
ลองฝึกความอดทนในการตั้งใจฟัง
ฟังด้วยรัก ฟังด้วยใจ
ไม่ใช่แค่ฟัง แบบพร้อมจะสวน
.
14. เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ลูก
พื้นที่ปลอดภัย คือ
พื้นที่ที่พร้อมเปิดรับ ทุกความคิดเห็น
ทุกการกระทำ ทุกคำพูด
โดยไม่ตัดสินไปก่อน ที่จะฟังเหตุผล
.
15. ให้ความไว้วางใจ
ความไว้วางใจ เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์
ทุกคนต้องการที่จะได้รับ
เป็นด่านแรกของการสานความสัมพันธ์อันดี
.
16. การใช้ชีวิตอย่างสมดุลย์
ทำงานเป็นเวลา
ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ออกกำลังกายให้เพียงพอ
พักผ่อนให้เพียงพอ
ใช้ชีวิตอย่างสมดุลย์ จัดเวลาอย่างลงตัว
เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก
.
17. ความเห็นอกเห็นใจ Empathy
คือ แก่นสำคัญในการเข้าถึงใจลูกอีกข้อ
เข้าใจเขา เหมือนอยู่ในสถานการณ์
เดียวกันกับเขา เหมือนนั่งอยู่ในใจของเขา
.
18. การ Reframe
คือ การเปลี่ยนมุมมองใหม่
ในสถานการณ์เดียวกัน
คนเรามองไม่เหมือนกัน
พูดคุยถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
แล้วทำให้ลูกมองในมุมใหม่
เช่น บางครั้งลูกอาจจะคิดว่าเราโกรธเขา
แต่แท้จริงแล้ว เราเป็นห่วงเขา
รีเฟรมความคิด ทำให้เกิดความเข้าใจใหม่
ซึ่งเป็นเทคนิค ที่สำคัญมาก
.
19. ให้ทางเลือกกับเขา
ในทุกสถานการณ์
มีวิธีการแก้ปัญหามากมาย หลายแบบ
การช่วยให้เขาเห็นทางเลือก
เห็นวิธีการใหม่ๆ ก็เป็นทักษะการโค้ชที่สำคัญ
.
20. การมีเป้าหมาย
การตั้งเป้าหมายในแต่ละการกระทำ
มีความสำคัญ ที่จะฝึกให้ลูก
ทำทุกอย่าง อย่างมีความหมาย
ดังนั้น มาฝึกการตั้งเป้าหมายกับลูกกัน
.
.
21. เข้าใจตัวเอง จึงเข้าใจลูก
คุณเข้าใจตัวเองแล้วหรือยัง
คุณเข้าใจว่าตัวเองเก่งอะไร
คุณเรียนรู้แบบไหน
คุณเข้าใจความรู้สึกตัวเองแล้วหรือยัง
เมื่อคุณเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง
คุณจึงจะเข้าใจลูก
ฝึกการโค้ชชีวิตตัวเอง
ก่อนจะเป็นโค้ชให้กับลูก