3 วิธี ขโมยการเรียนรู้ของลูก

<h1>3 วิธี ขโมยการเรียนรู้ของลูก</h1>

บ่อยครั้งที่พ่อแม่เห็นลูกเล่นซน ทะโมนเป็นลิงปีนต้นไม้ ก็เกิดเป็นห่วงลูก กลัวเกิดหกล้ม บาดเจ็บ อดไม่ได้ที่จะเข้าไปห้ามลูกไปเสียหมด แต่นั่นอาจะเป็นการขโมยการเรียนรู้ของลูก หยุดการพัฒนาสมอง EF (Executive Function) โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัวก็เป็นได้

.

ประโยคที่พ่อแม่ชอบพูด การกระทำแบบไหนที่เผลอขโมยการเรียนรู้ของลูก และทำให้การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงหน้าต้องหยุดชะงัก

.

1. ไม่ให้ทำ

“ไม่เอา ไม่ให้ทำดีกว่า”

“ลูกเล่นตรงนี้ ล้มจะเจ็บ อุ้มดีกว่า”

“ของกินแบบนี้สกปรกแน่เลย ต้องเอาชิ้นใหม่ที่สะอาด”

.

บางครั้งการที่ให้เขาได้ทำเอง เล่นเอง เจ็บเอง เขาจะได้รับสิ่งที่เรียกว่า “ประสบการณ์ตรง” ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด* เขาจะจดจำและเกิดการเรียนรู้ทันที และครั้งถัดไปเขาจะระวังตัวมากขึ้นเอง

*จากกรวยประสบการณ์ เอดการ์ เดล (Cone of Experiences )

.

หากพ่อแม่ห้ามเขาไปหมด ปกป้องเขาไปทุกอย่าง เขาจะไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าลองอะไรใหม่ๆ กลัวถูกห้าม กลัวโดนดุ และเขาจะรู้สึกว่า เขาไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ ยังไงเขาก็อยู่รอด

.

2. ช่วยเร็วเกินไป

ที่โรงเรียนฟินแลนด์ คุณครูจะปล่อยเด็กแต่งตัวเอง เด็กเล็กอาจจะใช้เวลานานบ้าง หน้าที่ของครูคืออยู่ดูห่างๆ ไม่ให้ความช่วยเหลือ (ยกเว้นจะเป็นการรูดซิปที่หลังที่ยากจะรูปเองได้ เป็นต้น) สำหรับบางคนก็นานจนครูลุ้นตาม ถ้าเด็กแต่งตัวได้สำเร็จ ก็ร้องไชโยไปกับเด็กด้วย นี่คือการอดทนของครู ต้องให้เด็กทำเองให้ได้ และชื่นชมกับความสำเร็จเล็กๆ เพื่อให้เด็กๆ เกิดการสร้าง Self-Esteem

.

บางครั้งเราทนเห็นลูกทำช้าไป สงสารลูกบ้าง รอไม่ไหวบ้าง ก็เผลอเขาไปช่วยลูกซะแล้ว ลองหันมาอดทนให้ลูกทำเองให้ได้ก่อน เพราะเขาจะรู้เลยว่า ต้องใส่เสื้อผ้าอย่างงี้ ชิ้นนี้ควรใส่ก่อน จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติ

.

3. กลัวเกินไป

อย่าเอาประสบการณ์ของเราไปตัดสินเขา เช่น เห็นลูกแกว่งชิงช้าเร็ว และเร่งการแกว่งไปเรื่อยๆ จนสูงน่าหวาดเสียว หากพ่อแม่มีประสบการณ์ความกลัว เห็นภาพลูกเกิดอุบัติเหตุ ตกจากชิงช้าขึ้นมา แล้วที่นั่งชิงช้าย้อนกลับมาฟาดหน้าลูก จึงเข้าไปห้าม

.

“อย่าแกว่งแรงสิ”

“ลงมาเดี๋ยวนี้”

“เกิดเลือดออกจะทำยังไง”

.

ทั้งห้าม ทั้งขู่สารพัด จนเด็กอดเล่นชิงช้าไปเลย ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องเล่นที่โปรดปรานมากแท้ๆ

.

ดังนั้นแล้ว พ่อแม่ต้องกล้าปล่อยให้ลูกได้เจอกับตัว เรียนรู้เต็มๆ ด้วยตัวเอง เพื่อเกิดประสบการณ์ตรง และเกิดการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) ไปตามวัยของพวกเขากันดีกว่า

.

มารู้จัก EF (Executive Function) เชิงการนำไปใช้ เพื่อรับเทคนิคสอนเด็กๆ ได้ที่คลาสนี้
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า