4 แนวทาง "พัฒนาครู" สู่ Child-centered approach

<h1>4 แนวทาง “พัฒนาครู” สู่ Child-centered approach</h1>

หลักสูตรรูปแบบใหม่ เปลี่ยนเด็กเป็นศูนย์กลาง เลือกเรียนตามความสนใจ หรือ Child-centered approach ลองนึกถึงสมัยที่คุณพ่อคุณแม่เรียนหนังสือ ช่วงมัธยมปลายเลือกเรียนสายวิทย์ หรือ สายศิลป์กันคะ? แล้วทำไมถึงต้องให้เลือกแค่สายวิทย์ หรือ สายศิลป์ทั้งๆ ที่ในโลกนี้มีอาชีพ มีทางเลือกอีกมากมาย

การเรียนแบบเดิมที่ห้องเรียนให้ความสำคัญกับผู้สอนโดยให้ครูเป็นผู้พูด และให้นักเรียนเป็นผู้นั่งฟัง คอยท่องจำ และทำตามที่ครูบอก เป็นระบบการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับ “การสอน มากกว่า การเรียน” แต่ปัจจุบัน ทฤษฎี เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับ “การเรียนรู้ มากกว่า การสอน”

ปัจจุบันระบบการศึกษาหลายๆ ประเทศ อย่างเช่น ประเทศฟินแลนด์ ที่มีการใช้ระบบการศึกษาแบบให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) เพื่อให้เด็กๆได้ค้นหาตัวตน ผ่านหลักสูตรที่ปรับตามผู้เรียน ทั้งเรื่องความถนัด ความชอบ ความสนใจ เพราะเด็กทุกคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อเด็กๆ ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติวิธีการเรียนเหล่านี้จะช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิด “ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong learner) สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถช่วยเป็นแนวทางการศึกษาที่จะทำให้เด็กๆ มีความสุข มีอิสระ และสนุกกับไปการเรียนรู้ และผู้มีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริมเด็กๆ ก็คือ “คุณครู” นั่นเอง

4 บทบาทของครู ในแนวทาง Child-centered approach

●  ครูต้องเป็นผู้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆ 

ครูต้องเริ่มเป็นพื้นที่รับฟัง ฟังในสิ่งที่เด็กๆ ต้องการจะสื่อสาร ก่อนที่จะพาพวกเขาเข้าสู่ขั้นตอนการเรียนรู้

● ครูต้องเป็นผู้เตรียมสื่อการเรียน

ครูต้องเตรียมความพร้อมก่อนสู่ห้องเรียน สร้างสรรค์สื่อให้กับเด็กๆ  เพื่อใช้กระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้

● ครูต้องเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ชี้แนะ

ครูเป็นผู้ที่พาให้ Mindset เด็กๆ ก้าวไปข้างหน้า ต้องคอยสังเกตพฤติกรรม และวิธีการเรียนรู้ของเด็กๆ เพื่อช่วยเชื่อมโยงความคิด และคอยส่งเสริมเด็กๆ แต่ละคนได้อย่างตรงจุด โดยที่ไม่ใช่ผู้ที่ตัดสิน หรือตีตรา ซึ่งจะอันตรายต่อการค้นพบศักยภาพภายในของเด็กอย่างมาก

● ครูจะต้องไม่ตัดสินเด็กๆ 

ครูต้องไม่มีการยึดตนเองเป็นหลัก เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก และกล้าลงมือทำ

ครูยุคใหม่จึงควรเปลี่ยนตัวเองจาก “ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้” (From Teacher to Facilitator) เพื่อการเรียนรู้ที่มีความสุขของเด็กๆ ทุกคน


โปรแกรมพัฒนาโรงเรียน พัฒนาทักษะครู ให้สามารถสอนเด็ก ส่งเสริมเด็กตามความถนัด และเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
https://geniusschoolthailand.com/school-founder-courses/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า