5 วิธีการรับมือถ้าลูกมีอารมณ์รุนแรง
5 วิธีการรับมือถ้าลูกมีอารมณ์รุนแรง

5 วิธีการรับมือถ้าลูกมีอารมณ์รุนแรง

.

เมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด

สิ่งที่ทำได้คือการ “รอ” ให้ภูเขาไฟสงบลง

เมื่อภูเขาไฟที่มีลาวาไหลลงมาด้วย

ความร้อนที่สูงปรี๊ด ยังไงเราก็ไม่สามารถ

ดับได้ด้วยน้ำ เพื่อทำให้ภูเขาไฟสงบลง

ในทันที แต่สิ่งที่ทำได้คือการรอ และรอ

จนภูเขาไฟสงบ เราจึงจะสามารถเข้าพื้นที่

นั้นได้ อารมณ์โกรธของลูกก็เช่นกัน

.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัย 2-6 ขวบ

จะมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

ยิ่งในเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจก็จะมักแสดงพฤติกรรม

.

● แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด หงุดหงิด

● ร้องไห้ เสียใจ 

● กรีดร้อง เสียงดังโวยวาย    

● ลงไปนอนดิ้นกับพื้น

● ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น

● แสดงกิริยาต่างๆ ที่ไม่สุภาพ

.

พฤติกรรมที่ไม่น่ารักในเด็กเล็ก

เป็นพฤติกรรมตามช่วงวัยเพราะเป็น 

ช่วงวัยที่เด็กกำลังพัฒนาทั้งอารมณ์ และสังคม

.

ถ้าลูกแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

ในรูปแบบต่างๆนอกสถานที่

และระเบิดอารมณ์ต่อหน้าคนอื่น

.

สิ่งที่แรกที่ควรทำคือ คุณพ่อคุณแม่ควร 

สูดลมหายใจให้ลึกที่สุด เพื่อสงบสติอารมณ์

ของตัวเองก่อน ไม่ต้องกลัวอับอายขายหน้า

เพราะเด็กในวัยนี้ เป็นวัยแห่งการต่อต้าน 

เป็นวัยแห่งการทดสอบความรักของพ่อแม่ 

ที่มีให้พวกเขาว่ามั่นคงหรือไม่

เรื่องดื้อจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมชาติในเด็กวัยนี้

และที่สำคัญไปกว่านั้นจงเข้าใจลูกเพราะ……

ในช่วงวัยนี้สมองส่วนอารมณ์กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว 

ในขณะที่สมองส่วนเหตุผลยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

.

วิธีการรับมือเมื่อลูกระเบิดอารมณ์

1. ดับไฟในตัวเราก่อนดับไฟในตัวลูก 

กคุณพ่อ คุณแม่ควรสูดลมหายใจลึกๆ 

กเพื่อจัดการกับอารมณ์ของตัวเองก่อน     

กเพื่อที่จะได้ไม่เผลอใช้อารมณ์ ไม่ใช้คำพูด

กและการกระทำที่รุนแรง เพียงเพื่อต้องการ

กจะหยุดพฤติกรรม หรือต้องการเอาชนะ

กอารมณ์ที่กำลังเกรี้ยวกราดของลูก  

กเพราะพ่อแม่เป็นตัวอย่างสำคัญของการ

กแสดงพฤติกรรมนั้นๆ ต่อหน้าลูก     

กโดยที่ยังไม่ต้องสอนอะไรเลย

.

2. เด็กปิดการฟังอย่าเพิ่งขยันสอน

เมื่อลูกกำลังมีอารมณ์โมโห เกรี้ยวกราด 

เมื่อนั้นสมองส่วนอารมณ์จะทำงานทันที

และเด็กจะปิดการฟังในเรื่องของเหตุผล   

อย่าเพิ่งรีบสอนลูกตอนนี้

เพราะยิ่งพยายามพูด หรืออธิบาย

อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง 

.

3. พ่อแม่อยู่ตรงนี้ ไม่ได้ทิ้งไปไหน 

ไม่ควรทิ้งลูกให้อยู่คนเดียว ในช่วงที่กำลัง 

รอลูกสงบจิตสงบใจ พ่อแม่ควรจะอยู่ใน

สายตาลูก และค่อยๆบอกกับลูกว่า 

พ่อแม่จะคอยตรงนี้ เพื่อให้ลูกได้ใช้เวลา  

อยู่กับตัวเองก่อน จากนั้นจะกอดลูก 

หรือจะนั่งอยู่เงียบๆโดยที่ยังไม่ต้องพูดอะไรเลยก็ได้

เพื่ออยู่เป็นเพื่อนลูก และรอเพื่อสงบอารมณ์ไปพร้อมๆกัน

.

4. สอนให้เรียนรู้ชื่อของอารมณ์ต่างๆ       

เมื่อลูกอารมณ์ค่อยๆสงบลง สอนลูกรู้จักกับอารมณ์ 

หรือพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกมา มีชื่อเรียกอย่างไร    

เช่น ที่ลูกร้องไห้ เป็นเพราะลูกรู้สึกเสียใจ หรือ

ที่ลูกร้องกรี๊ดโวยวาย เรียกว่า ระเบิดอารมณ์  

ครั้งต่อไปเมื่อมีการสอนลูกให้คุณพ่อคุณแม่เรียกชื่อ 

ของอารมณ์นั้นๆเพื่อสื่อสารกับลูก เพราะเด็กวัยนี้ 

ยังไม่เข้าใจ และยังไม่รู้จักอารมณ์ที่แสดงออกมา  

จึงไม่รู้วิธีการจัดการอารมณ์ตนเอง   

จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ที่จะต้องค่อยๆพาลูก 

ไปทำความรู้จักกับอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับลูก

.

5. จังหวะของการสอนมาถึงแล้ว

เมื่อคุณพ่อ คุณแม่สามารถรอจนกระทั่ง… 

ไฟในใจลูกสงบลงแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่

ค่อยๆถามลูกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า

เหตุการณ์เมื่อสักครู่ลูกรู้สึกอย่างไร? 

พร้อมทั้งใช้เหตุผลที่พ่อแม่เตรียมไว้

สามารถสอนได้เลยในช่วงเวลานี้

และอย่าลืมอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

พร้อมทั้งให้วิธีการแก้ปัญหาในครั้งต่อไป

.

สาเหตุที่ต้องสอนให้เด็กๆได้ค่อยๆฝึกการใช้เหตุผล

จากพ่อแม่ ไปจนถึงครูที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ

ต้องค่อยๆฝึกฝนให้เด็กๆได้ใช้ EF (สมองส่วนหน้า) 

หรือเรียกอีกอย่างว่า “ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิต”

เป็นเพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่สมองส่วนเหตุผล

ถูกฝึกฝนให้แข็งแรงพอ เมื่อนั้นลูกก็จะสามารถ

ใช้เหตุผลในการควบคุมสมองส่วนอารมณ์      

ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้เอง

.

การฝึกฝน การอบรม และสั่งสอน รวมไปถึงการใส่ใจ  

การให้ความรักความอบอุ่น การสร้างความผูกพัน 

กับลูกตั้งแต่ยังเล็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นการปูพื้นฐาน 

ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก ซึ่งพ่อแม่ต้องใช้ความเข้าใจ 

และความอดทนที่จะสอนซ้ำๆ 

.

“เหมือนการหยอดกระปุกทุกๆวัน  

ที่ยังไม่เห็นผลในทันตา แต่รับรองว่าได้ผลดี

สมกับที่รอคอยแน่นอน!”

.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า