6 ไอเดียสำหรับ "ครูฟา" ทำห้องเรียนให้เป็นห้องเล่น

วิถีการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ต่างจากยุคเก่ามาก เนื่องจากเด็กเติบโตมากับเทคโนโลยี ความทันสมัย และโลกยุคนี้ก็เป็นโลกของข้อมูล ทุกอย่างค้นหาได้ง่ายดายบน Google ที่ปลายนิ้ว ดังนั้น การเรียนการสอนแบบยุคเก่า ฟังครูสอนอย่างเดียว นั่งจดนั่งจำ ท่องแต่ตำรา คงไม่ใช่แนวทางการสอนที่ดีของเด็กยุคนี้นัก ครูต้องเปลี่ยนตัวเองเป็น ครูฟา มีทักษะ Facilitator หาวิธีการสอนที่สนุก และต้องปรับบรรยากาศห้องเรียนให้ไฉไลกว่าเดิม เป็น Active Learning ให้นักเรียนมีส่วนร่วม เพื่อดึงดูดเด็กๆ ให้สนใจการเรียนมากขึ้น
.
สิ่งที่ครูยุคใหม่ต้องปรับตัวจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า บทบาทของคุณครู มันก็ไม่เหมือนเดิม ครูฟา เป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณครูจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการสอน และการเข้าถึงเด็กๆ ในยุคปัจจุบันนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เติบโตได้อย่างแข็งแรง และมีความสุขในยุคศตวรรษที่ 21
.
คำว่า ครูฟา หมายถึงว่า จะไม่ได้เป็นเพียง “ครู” ผู้ให้ความรู้ แต่จะเป็น “ฟา” (Facilitator) ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วย สิ่งสำคัญที่ ครูฟา ต้องมีก็คือ
1. เปิดโอกาสให้เด็กๆแสดงความคิด และมองหาจังหวะสอดแทรกการเรียนรู้ไปในประสบการณ์ของเด็กๆ
2. เปิดโลกอันกว้างใหญ่ในการเข้าถึงข้อมูลของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าจากอินเตอร์เนท หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ
3. เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆ และจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กๆพลาด เพื่อการเรียนรู้ เพราะการพลาดคือส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จในการเรียน
.
การเป็น ครูฟา เป็นความท้าทายนึงที่เกิดขึ้นกับครูทุกคน แต่ผลลัพธ์ที่จะเกิด คือเด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ และในตอนท้ายเด็กๆ ก็จะกลายเป็น “นักเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งนั่นจะทำให้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน เด็กๆ เหล่านั้นก็จะอยู่รอดอย่างแข็งแรง ปลอดภัย และมีความสุขได้เพราะเค้าเข้าใจตัวเองนั้นเอง
.
มาดูไอเดียแปลงห้องเรียนแบบเดิมที่แสนน่าเบื่อให้เป็นห้องเล่น สร้างความแปลกใหม่ สมองของเด็กจะไม่รู้สึกจำเจกับสภาพเดิมๆ มีความกระตือรือร้นมากขึ้นแบบ Active Learning กันดีกว่า
.
1. Flexible Learning Space – ห้องเรียนขยับได้
ครูฟา ลองปรับตำแหน่งโต๊ะนักเรียน จากที่เคยนั่งเป็นคู่ๆ หันหน้าเข้ากระดาน ลองเปลี่ยนเป็นตัวยู มีพื้นที่ตรงกลางเหมือนเป็นแคทวอล์ก หรือลองจัดเป็นกลุ่มละ 3 คนบ้าง จัดโต๊ะแนวเฉียงๆ ดูบ้าง ไม่ต้องเข้ามุมพอดีอย่างเดิมๆ
.
2. Active Classroom – ห้องเรียนแอคทีฟ
ปรับการเรียนการสอนให้การเรียนเป็นการเรียนปนเล่นเป็น Active Learning ตรงนี้ ครูฟา จัดให้มีการได้ขยับเขยื้อนร่างกาย วิ่ง กระโดด ยกมือ ปรบมือ เต้น เชียร์เพื่อน ซึ่งอาจจะเป็นการแข่งขันอะไรก็ได้ ให้ห้องมีพลังงานขึ้นมา
.
3. Learning Stations – สถานีความรู้
จัดห้องให้มีสถานีเรียนรู้เรื่องย่อยๆ ในบทเรียนออกเป็นจุดต่างๆ ครูฟา ชวนให้เด็กได้เดินไปศึกษาเรียนรู้ อาจมีเกมที่เกี่ยวให้เล่นเพื่อการเรียนรู้แล้ว โดยสามารถจัดเป็นกลุ่มหมุนเวียนตามสถานีต่างๆ
.
4. Game Corner – มุมเกม
การมีมุมเกม บอร์ดเกม เลโก้ หมากรุก หมากฮอส โกะ ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าห้องน่าสนุก อยากเข้าห้องเรียนมากขึ้น โดย ครูฟา สามารถใช้เป็นรางวัลสำหรับเด็กให้ได้มาเล่นเกมที่มุมเกมก็ได้
.
5. Game Online to Offline – ใช้เกมออนไลน์ ดึงดูดใจเด็ก
เอาคาแร็คเตอร์จากการเกมมาเป็นตัวละครนำสู่บทเรียน หรือแม้กระทั่งจำลองเอารูปแบบของเกมนั้นแปลงเป็นเกมความรู้สำหรับเด็กๆ หรือให้เด็กๆ สามารถเลือก Avatar ของตัวเอง แข่งกันทำคะแนนสะสมขึ้น Level โดยอาจจะมีรางวัลเล็กๆ น้อยๆ สำหรับเด็กที่ชนะ เด็กๆ นักเรียนจะรู้สึกว่า ครูฟา เข้าใจเค้ามากขึ้น อยากเรียนมากขึ้น
.
6. Classroom Theme – จำลองห้องเรียนตามธีม
ครูฟา จำลองห้องเรียนให้มีบรรยากาศ มีกลิ่นไอ หรือสามารถบอกเล่า ส่งเสริมบทเรียนที่กำลังเรียนอยู่ได้ จะเพิ่มความสนใจให้กับบทเรียนได้มาก ถ้าหากให้เด็กๆ แต่งตัวหรือสร้างพร็อพ อุปกรณ์ช่วยแต่งตัวให้เข้ากับบรรยากาศ ก็จะยิ่งเพิ่มความสนุกได้
.
เพราะไม่ว่าเด็กโตหรือเด็กเล็กก็ล้วนต้องการอยู่ในบรรยากาศที่รู้สึกผ่อนคลาย สภาวะการเรียนรู้ของสมองที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ในสภาวะที่มีความสุขกันทั้งนั้น มาเป็น ครูฟา ที่สร้างห้องเรียนที่สนุก เป็นพื้นที่ปลอดภัย และเด็กๆ กระหายที่จะเรียนรู้กันนะคะ
.
มาเป็น ครูฟา ยุคใหม่กับคลาส อบรมครู ด้วยทักษะ Facilitator และสร้างห้องเรียนแบบ Active Learning
https://geniusschoolthailand.com/genius-facilitator/