ฝึก EF เด็ก ด้วยการให้มี I CAN สำคัญกว่า IQ

<h1>ฝึก EF เด็ก ด้วยการให้มี I CAN สำคัญกว่า IQ</h1>

“การศึกษาศตวรรษที่ 21” ยังมีการใช้ IQ Test อยู่บ้าง เพื่อทดสอบเด็กในบางกรณี แต่การ “สร้างลูกเก่ง” หรือ “เลี้ยงลูกให้ฉลาด” ไม่จำเป็นต้องมุ่งพัฒนาแต่ IQ เสมอไป แต่ต้องมีการฝึกทักษะความมั่นคงจิตใจด้วย EF (Executive Function) เพื่อให้เด็กเกิดความมุมานะตนเอง และเชื่อว่า ฉันทำได้!! ฉันสามารถ!! หรือ I CAN นั่นเอง

.

เชื่อหรือไม่?
IQ TEST ถูกออกแบบมาใช้ครั้งแรกในโลกในช่วงต้นปี 1900 สำหรับคัดแยกเด็กมีปัญหาในการเรียน (Retard) หรือเรียกเข้าใจง่ายๆ ว่ากลุ่มเด็กปัญญาอ่อนออกจากเด็กปกติที่เกียจคร้าน!
.

ผู้ออกแบบคือ Alfred Binet กับ Theodore Simon ซึ่งได้รับโจทย์จากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ทำ เพื่อคัดแยกเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษในการเรียนออกจากเด็กปกติ หลังจากนั้น TEST ที่ทั้งสองคิดค้นเรียกว่า BINET & SIMON SCALE ก็ดัง และกลายเป็นมาตรฐานวัดระดับเด็ก แพร่หลายไปทั่วยุโรปและสหรัฐ ไปจนทั่วโลก
.
ตอนนี้รู้จักกันว่า เป็นตัววัดระดับสติปัญญาของคน แต่ในความจริงแล้ว ความคิดของ Binet ผู้ออกแบบนั้น เขายอมรับว่า IQ TEST นั้น ไม่ได้มีหลักฐานพอที่จะวัดระดับสติปัญญาของคนได้ครบถ้วน เพราะยังขาดการวัดที่เหมาะสมสำหรับเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และ EQ ความฉลาดทางอารมณ์ 

(ที่มา) https://www.businessinsider.com/iq-tests-dark-history-finally-being-used-for-good-2017-10

.

หลังจากมี IQ TEST ขึ้นมาบนโลก มันก็ถูกใช้ไปในทางที่บิดไปจากเจตนาเดิมไปมาก ตั้งแต่ไปใช้เป็นเกณฑ์ทดสอบการสอบเข้ากองทัพของสหรัฐ ไปจนใช้ตัดสินระดับสติปัญญาของคน เพื่อกดขี่ข่มเหงในฐานะที่ด้อยสติปัญญา! (โชคดีที่เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นและจบลงไปหลายสิบปีแล้ว  คิดดูว่าถ้าเราถูกจะต้องถูกตัดสินว่าเป็นคนชนชั้นไหนจากผลการทดสอบ IQ TEST เราจะเป็นอย่างไร???)

.

แม้ว่าปัจจุบัน IQ TEST ยังคงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในในเรื่องของการวัดระดับสติปัญญา (เหมือนเดิม) เพียงแต่ไปในทางยกย่องคนที่มี IQ สูงๆ มากกว่าจะมีผลกระทบต่อคนที่ได้คะแนนน้อยๆ ผลพวกของ IQ TEST ที่ยังมีจุดอ่อนนั้นได้ส่งผลกระทบความเชื่ออย่างหนึ่งของคนของข้างมากจนถึงปัจจุบันก็คือ ความเชื่อที่ว่า คนที่เก่งด้านคำนวณ (ตรรกะสมองซีกซ้าย) เป็นคนฉลาด (และดูฉลาดกว่าคนเก่งสมองซีกขวาหรือด้านศิลปะและ EQ) 

.

เนื่องจาก IQ TEST แรกนั้น วัดผลเรื่องของตรรกะ การคำนวณ เพราะวัดผลง่ายกว่า ผลก็คือ สังคมต่างยกย่องเด็กสายวิทย์ คนเก่งเลขรวมไปถึงเด็ก หากจะวัดว่าเด็กคนไหนเก่ง ฉลาด ให้ดูคะแนนวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นหลัก เด็กที่อ่อนหรือไม่ถนัดวิชาทางคำนวณ และตรรกะจึงกลายเป็นเด็กไม่เก่ง ไม่ฉลาดอย่างที่สังคมต้องการ

.

และความที่ถูกตีตราว่า ไม่เก่ง ไม่ฉลาด (แรงกว่านี้ก็คือ โง่ เรียนอ่อน หัวไม่ดี) เพียงเพราะไม่ได้เก่งตามที่มาตรฐานที่สังคมคาดหวังไว้ ส่งผลให้เด็กบางคนมี Mindset ไม่ก้าวหน้า หรือที่เรียกว่า Fixed mindset ได้ง่ายมาก เด็กเหล่านี้จะเหมือนถูกฝังชิพในสมองไปแล้วว่า ฉันหัวไม่ดี ไม่เก่ง คงเอาดีไม่ได้ อย่าหวังสูง เรียนไปก็เท่านั้น พยายามให้ตายยังไงก็ไม่ดีไปกว่านี้เท่าไหร่ เพราะสมองไม่ดี เรียนไม่เก่ง
.

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าเป็นห่วงมากสำหรับคนที่มี Fixed mindset เพราะชีวิตจะติดในกรอบขีดจำกัดที่ตัวเองไม่กล้าทะลุออกไป ถูกกักขังด้วยความคิดของตัวเองจนไม่กล้าแม้แต่จะฝัน 

.

ใส่ I CAN แทน IQ 

ในฐานะพ่อแม่ คงไม่มีใครอยากให้ลูกหลานมีความคิดไม่ก้าวหน้า สิ่งที่เราจะต้องทำคือ ใช้หลัก I CAN แทนที่จะใส่ใจเรื่อง IQ หรือความเก่ง ที่วัดจากคะแนนสอบ วัดจากเกรดเท่านั้น  I CAN เป็นหนึ่งในรากฐานสำหรับเรื่อง EF (Executive Function) การพัฒนาศักยภาพสมองของลูกตั้งแต่ยังเด็ก
.

I CAN คือ ความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ฉันทำได้ ไม่ว่ามันจะยากแค่ไหน ฉันทำได้ ซึ่งความรู้สึกมั่นใจจากภายในนี้ ต้องถูกสร้างตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มจากการที่ “พ่อแม่ยุคใหม่” ต้องประคับประคองลูกแต่พอควร เมื่อถึงวัยที่ต้องปล่อยมือก็ต้องปล่อย เหมือนเด็กจะกล้าก้าวเดินอย่างมั่นใจได้อย่างไร ถ้าพ่อแม่เอาแต่อุ้มตลอดเวลา การให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเองในช่วงวัยที่เหมาะสม เช่น การกินข้าว การติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้าไปจนเมื่อโตขึ้นก็ช่วยงานบ้านได้ ดูแลตัวเองได้ ทั้งหมดจะสั่งสม I CAN และเป็นการฝึก EF (Executive Function) ที่ดีมากๆ

.

ทำไมงานบ้านจึงสำคัญต่อ I CAN

เคยมีการข่าวที่มีการแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางว่า มีสถานศึกษาแห่งหนึ่ง มีการทดสอบการรีดผ้า ก่อนจบการศึกษา เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเยอะมาก ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่จะมีความสงสัยว่า งานรีดผ้า ไม่ใช่สิ่งที่ทำเป็นประจำที่บ้านอยู่แล้วหรือ เพราะจริงๆ แล้ว เด็กในปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากที่มีหน้าที่ทำงานบ้าน 

.

การทำงานบ้าน เช่น ล้างจาน  ซักผ้า ตากผ้า พับผ้า รีดผ้า ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ หรือช่วยทำครัว ปลูกต้นไม้ ดูแลสัตว์เลี้ยง ล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง เพราะเป็นงานที่ต้องลงมือทำ ไม่ใช่แต่ดูจอหรือใช้นิ้วจิ้มลากๆ ไปเหมือนเกมใน iPad การปลูกต้นไม้ในจอ ต่างจากการทำสวนจริงๆ อย่างมาก

.

การทำงานบ้านจริง ต้องอาศัยการวางแผนจากสมองสั่งงานว่าจะเริ่มจากอะไร ไปอย่างไรต่อ จนจบที่ไหน ยิ่งถ้าเด็กๆ อยากทำงานให้เสร็จเร็วๆ เพื่อจะได้ไปเล่น ก็ยิ่งต้องวางแผนให้ดี ทำอย่างไรจึงจะเสร็จเร็วและไม่โดนดุให้ทำซ้ำด้วย ถ้ากล้ามเนื้อมือมัดเล็ก อย่างนิ้วมือ และแขนขามีกำลังแข็งแรง เด็กๆจะปฏิบัติงานนี้ให้เสร็จได้ไม่ยากเกินไป เมื่อทำงานเสร็จแล้วได้รับคำชม ก็จะบันทึกเป็น I CAN จาก I CAN เล็กๆ สะสมรวมกันเติบโตเป็น Self- Esteem มี Growth Mindset ที่ดี มีการเห็นคุณค่าในตัวเองต่อไป

.

I CAN = Growth Mindset 

ความเชื่อมั่นว่า ฉันทำได้ เป็น Mindset ของคนที่พร้อมจะเติบโต การที่บอกตัวเองว่า ฉันทำได้ ไม่ได้เท่ากับว่าทุกเรื่องที่ทำจะประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก หรือไม่เคยล้มเหลวเลย เพียงแต่คนที่มีความคิดแบบ “Growth Mindset” อย่าง I CAN จะไม่กลัวที่จะล้มเหลว หรือ ไม่กล่าวโทษใครหรืออะไร หรือสมน้ำหน้าตัวเองว่า เห็นมั้ย เธอมันไม่เก่ง ทำไม่ได้หรอก แบบพวก Fixed Mindset ทำพวก “Growth Mindset” จะบอกตัวเองว่า สิ่งนั้นคือบทเรียนที่ต้องกลับมาดูว่า ทำไมจึงไม่สำเร็จแล้วหาทนทางใหม่ๆที่ทำให้สำเร็จให้ได้ 

.

I CAN ดี จะเพิ่ม IQ แค่ไหนก็ได้

คนที่มีความเชื่อมั่นว่า ตัวเองทำได้ จะไม่ย่อท้อ แม้กระทั่งเรื่องทดสอบเรื่องคะแนน (แบบ IQ) เราเคยเห็นเด็กที่เรียนไม่เก่งพอก่อน เป็นเด็กหลังห้องมากมาย แต่เมื่อถึงวันที่จะทำให้ได้ก็สามารถกระโดดข้ามชนะได้ หรือนักกีฬาที่เคยได้ชื่อว่า แย่ที่สุด แต่เมื่อวันที่เกิดความมั่นใจในตัวเองที่แข็งแรงพอก็สามารถกลายเป็นดาวเด่นได้

.

I CAN – I CAN – I CAN เมื่อมั่นใจในเรื่องเล็กๆ ได้ก็มั่นใจในเรื่องใหญ่ๆ ได้

ก่อนที่จะมีโชว์เดี่ยว โน๊ต อุดม แต้พานิช  มักจะมีการแสดงทดสอบมุกก่อนเสมอในสถานที่เล็กๆ การได้รู้สึกว่าทำได้แล้วสักหนึ่งรอบ แม้จะเป็นรอบเล็กๆ ไม่ใช่แค่เพื่อดูว่า มุกนั้นได้รับการตอบรับดีแค่ไหนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างการจดจำความสำเร็จให้สมอง เหมือนป้อนอาหารคำเล็กๆ ให้สมอง จนสมองเชื่อว่า ยังไงก็ดีแน่ๆ 

.

การให้ลูกเริ่มมีประสบการณ์ความสำเร็จเล็กๆ ในเวทีเล็กๆ เรื่องเล็กๆ เหมือนค่อยๆ สร้างเส้นทางความเชื่อมั่น จากถนนลูกรัง กลายเป็นถนนคอนกรีต
.
กฎสำคัญในการสร้าง I CAN
นั่นคือ การอย่าเพิ่งรีบเข้าไปช่วยเร็วเกิน ไม่ว่าจะ…การบ้าน หรืองานอะไรก็ตาม เมื่อเห็นว่าลูกทำไม่ได้ พ่อแม่หลายคนรีบบอกคำตอบทันที หรือยื่นมือเข้าไปช่วยทันที นั่นคือการขโมย I CAN ไปจากลูก หรือหยุดการสร้าง EF (Executive Function) เพราะสมองลูกจะเกิดคำว่า I CAN’T ทำไม่ได้ แม่ช่วยหน่อยในข้อต่อมาทันที 

.

พ่อแม่ต้องใจเย็นๆ หาวิธีอื่นๆ หรือสอนใหม่อีกครั้ง หรือทำตัวอย่างให้ง่ายลง ให้ลูกรู้สึกว่า ทำได้ไปเรื่อยๆ จนมีความมั่นใจมากขึ้น และเมื่อทำเรื่องที่ยากๆ ได้สำเร็จ อย่าลืมชื่นชมยินดีให้สมองได้จดจำวไว้ว่า ลูกก็ทำได้

.

เรียนรู้การสร้าง Growth Mindset ให้กับเด็กๆ ได้ที่
https://geniusschoolthailand.com/course/growth-mindset/

.

เทคนิคและวิธีการสอนเด็กให้มี EF (Executive Function)
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า