หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based Curriculum) คือ อะไร

<h1>หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based Curriculum) คือ อะไร</h1>

ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาของไทยต้องเผชิญกับวิกฤตทางการศึกษามากมาย อาทิ การจัดการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง การศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมื่อเรียนออนไลน์ก็มีนักเรียนที่ตกหล่นหรือหลุดออกจากระบบการศึกษาค่อนข้างมาก ครูจัดการศึกษาที่ล้าสมัย รวมถึงมีการตื่นตัวของกระแสการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ AI

สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการศึกษา ทำให้้กิดปัญหาความด้อยคุณภาพของผู้เรียนเมื่อเทียบกับการจัดการศึกษาของประเทศชั้นนำอื่นๆ

ปัญหาที่เด่นชัดของนักเรียนไทยคือ การประยุกต์ใช้ เพราะครูไทยยังคงยึดติดกับวิธีการสอนเดิมๆ แบบ Passive Learning ที่เด็กๆ ต้องเรียน ท่องจำ นำไปสอบ มากกว่าที่จะเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ใช้การทักษะคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมุ่งสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง กล่าวคือ เด็กไทยมีสมรรถนะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผลเสียคือ จะเสียเปรียบอย่างมากในการแข่งขัน และพัฒนาประเทศในระยะยาว

จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้ทางภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนรู้เสียใหม่ โดยเปลี่ยนจุดเน้นจากที่เคยเป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Content based curriculum) ที่เน้นเนื้อหาวิชา และมีมาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวนมาก ไปเป็น “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” คือมุ่งไปยังพฤติกรรมที่ผู้เรียนโดยตรง ยึดความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้เป็นหลัก เพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้เรียนจะมีทักษะและความสามารถในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม เมื่อผ่านการเรียนรู้


มาตรฐานสมรรถนะ 2 ลักษณะ

“หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” จะกำหนดมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standards) ขึ้นเป็นสมรรถนะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ

1. สมรรถนะหลัก (Core Competency)

มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามวิชาหรือคร่อมวิชา คือเป็นสมรรถนะที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

2. สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency)

เป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา / สาขาวิชาที่จำเป็นสำหรับวิชานั้น ๆ

ซึ่งสมรรถนะทั้ง 2 ประเภทนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก หรือสมรรถนะเฉพาะ ต่างก็มีระดับตั้งแต่ง่ายไปยาก ซึ่ง “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” จะกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบไต่ระดับไปตามระดับความสามารถของตน


จุดเด่นของ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)”

สำหรับจุดเด่นของ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” นั้น มีด้วยกันอยู่หลายประการ อันได้แก่

1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้

2. ช่วยให้เกิดการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ

3. ช่วยลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น อันส่งผลให้สถานศึกษามีพื้นที่และเวลาในการจัดการเรียนรู้อื่นที่เหมาะสมกับผู้เรียน วิถีชีวิตและชุมชนได้มากขึ้น

4. ช่วยลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัดจำนวนมาก เพราะสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะหลัก

กรอบสมรรถนะหลักของ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” จะเป็นสมรรถนะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน ซึ่งจะเป็นสมรรถนะกลางที่เอื้อให้สถานศึกษาที่มีศักยภาพ

การนำ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” ไปใช้นั้นจะต้องดำเนินการผ่านการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Competency-Based Instruction : CBI) ที่มีลักษณะสำคัญคือ เป็นการเรียนการสอนตามจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ (Learning competencies) ที่สามารถสังเกตเห็นและวัดได้ ซึ่งการวัดและประเมินฐานสมรรถนะนั้น จะเน้นการวัดผลการเรียนรู้จากการพฤติกรรมและการปฏิบัติ ที่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงสมรรถนะนั้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด


“หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” ของ Genius School Thailand

แนวทางของ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” ของ Genius School Thailand แบ่งออกเป็น 3 ระดับตามช่วงวัยของผู้เรียน ได้แก่

1. ระดับอนุบาล (3-6 ปี) 

เด็กในระดับนี้ เรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function หรือ EF) คือ ความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำของมนุษย์ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งเด็กควรจะต้องพัฒนาสมองส่วนนี้ในช่วงอายุ 0-6 ขวบ ก่อนที่ร่างกายจะกำจัดใยสมองไมอีลินในส่วนที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไป จึงควรที่จะต้องช่วยลูกพัฒนาสมองส่วนหน้าเป็นพิเศษ

ดังนั้น “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” ของระดับอนุบาล จะเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบ Play-based Learning เน้นที่การพัฒนา “EF” เป็นสำคัญ จะไม่ได้เป็นการฝึกให้เด็กนั่ง เรียน เขียน อ่าน แต่การพัฒนาทักษะ “EF” นั้น ขึ้นอยู่กับการเล่น เพราะการเล่นอย่างอิสระ มีเป้าหมาย และมีความสุข จะช่วยพัฒนาและกระตุ้นการทำงานของสมองในทุกๆ ส่วนได้อย่างเต็มที่ และการเล่น ยังเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) ของเด็กอีกด้วย

2. ระดับประถมศึกษา (7-12 ปี)

“หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” จะมีความเฉพาะเจาะจง ออกแบบมาจากหลักการพื้นฐานหลัก 8 ข้อ ซึ่งเป็นทักษะของคนสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ตามบทวิจัยของ World Economic Forum 2022 ที่พึงมี ซึ่งจะสร้างให้เป็นผู้ที่รักในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก 8 กลุ่มประสบการณ์เรียนรู้ ของหลักสูตร ดังนี้

ส่วนที่ 1 : Philanthropy

Love of what it is to be human : ความรักในการเป็นมนุษย์ในความแตกต่างของปัจเจกชน และ ตั้งเป้าในการเติมเต็มความสุข คุณภาพของชีวิต หรือ Soft Skill

กลุ่มประสบการณ์ที่ 1 : SELF MASTERY

“ค้นหาตัวเอง” และเข้าใจในตัวตนของตนเองด้วย Talent Dynamics ประกอบไปด้วย การค้นหาความถนัดที่ติดตัว การค้นหาสิ่งที่เด็กเก่ง ทำให้สนุกสนาน ท้าทาย  และการค้นหาเป้าหมายในชีวิต (Ikigai)

กลุ่มประสบการณ์ที่ 2 : LEADERSHIP

ทักษะที่สำคัญคือ Communication Skill สามารถเข้าใจการสื่อสารกับผู้อื่นมากขึ้น การทำงานเป็นทีม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว

กลุ่มประสบการณ์ที่ 3 : LIFE SKILLS

ประกอบด้วย 3 R’s คือ Reading, Writing, Arithmetic อ่านออก เขียนได้ และคิดคำนวณเป็น

กลุ่มประสบการณ์ที่ 4 : EXPRESSION

สำรวจและค้นหาเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพื่อแสดงตัวตนที่แท้จริง แสดงความแตกต่างซึ่งความเป็นปัจเจกชนผ่านดนตรี หรือ ศิลปะ

ส่วนที่ 2 : Philosophy

Love of the world around us : ความเข้าใจในปรัชญาของชีวิต ทุกสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา หรือ Hard Skill

กลุ่มประสบการณ์ที่ 5 : DISCOVERY and INNOVATION

พัฒนาความสามารถในการวางแผน ศึกษาวิจัย และตัดสินใจ (Critical Thinking) ในความเป็นได้ที่หลากหลายในโลกแห่งความเป็นจริง เพื่อให้เกิด innovation การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 

กลุ่มประสบการณ์ที่ 6 : CAREER AND ENTERPRISE

เรียนรู้เรื่องอาชีพใหม่ๆ ในศตวรรษที่ 21 อาชีพที่หลายหลายที่เกิดขึ้นทุกวัน และการทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ การทำงานร่วมกันเป็นทีม การทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและสังคม (Collaboration) ตลอดจนการเข้าใจความมั่งคั่ง เรียนรู้ทั้งด้าน การเงิน Finance เข้าใจความมั่งคั่ง และความอุดมสมบูรณ์ของโลกใบนี้

กลุ่มประสบการณ์ที่ 7 : TECHNOLOGY

ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินผล และตัดสินใจเลือก การเข้าใจเทคโนโลยีในอนาคตที่กำลังจะมาถึง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลุ่มประสบการณ์ที่ 8 : GLOBAL CITIZENSHIP

เรียนรู้เรื่องการเป็นประชากรโลก หรือพลโลก เข้าใจธรรมชาติ และสร้างความยั่งยืนให้กับโลกนี้  เข้าใจความแตกต่างทางด้านภาษา ประเพณี วัฒนธรรมของผู้คนจากประเทศอื่นๆ

3. ระดับมัธยมศึกษา (13-18 ปี)

ในวัยนี้จะเป็นวัยที่ค้นหาตัวเองจริงจัง ค้นพบอัตลักษณ์ และต้องการการส่งเสริมจุดแข็งในตัวเอง “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” จะมุ่งเน้นไปที่การสร้าง Personalized Learning Pathway และการทำ Phenomenal-Based Learning ของ “โรงเรียนฟินแลนด์” ดังนี้

Personalized Learning Pathway

คือ การวางเป้าหมายและวางแผนในการเรียนรู้เฉพาะบุคคลที่ผู้เรียนมีส่วนในการออกแบบแนวทางการเรียนรู้ ตามความสนใจ ความสามารถ ทักษะของตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจะเป็นคนกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ด้วยอาชีพ หรือธุรกิจที่ตนอยากจะเป็นในการอนาคต และทางทีมครู ผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง จะออกเส้นทางการเรียนรู้ วิชาที่ต้องเรียนรู้ เพื่อเป้าหมายที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน

Phenomenal-Based Learning

คือ การเรียนรู้ที่ถูกพัฒนามาจาก “โรงเรียนฟินแลนด์” เป็นการเรียนรู้โดยการนำหัวข้อหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีจุดเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กๆได้ทำความเข้าใจประเด็นต่างๆ ในชีวิตจริง โดยไม่แยกย่อยวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆเกิดการอยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง และยังเป็นการฝึกให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ฝึกการระดมความคิด จนเกิดการวางแผน เพื่อให้สามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ  แก่นสำคัญคือ ต้องการให้เด็กเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยการเน้นการใช้ทักษะศตวรรษที่ 21 

“หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” นี้ นับเป็นหลักสูตรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเรียนรู้ของผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่เหมาะสมกับโลกในยุคสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วละมีการแข่งขันกันสูงขึ้น ซึ่งถ้า “หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based curriculum)” ได้ถูกประยุกต์และนำมาใช้ในระบบการศึกษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตัวเองให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการพัฒนาตัวเองและประเทศชาติได้


สนใจคอร์ส “อบรมครู” เพื่อพัฒนาทักษะฐานสมรรถนะ
https://geniusschoolthailand.com/course-teacher/

สนใจโครงการพัฒนาทักษะครูศตวรรษที่ 21 (Professional Development) เพื่อเพิ่มทักษะฐานสมรรถนะครูและปฏิรูปโรงเรียน (สำหรับเจ้าของโรงเรียน) คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่ค่ะ
https://geniusschoolthailand.com/school-founder-courses/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า