









“หนูไม่อยากแบ่งของเล่นให้เพื่อนเหรอลูก เดี๋ยวเพื่อนๆ ไม่เล่นด้วยนะคะ ของเล่นเล่นคนเดียว เดี๋ยวก็เบื่อ อยู่โรงเรียนมีเพื่อนเล่นด้วยกัน สนุกกว่านะคะ”
.
คำพูดนี้ของครูอนุบาล ที่อ่อนหวาน ใจเย็น พูดเสียงเบาๆ หลังจากเข้าไปนั่งกอด และปลอบน้องอย่างใจเย็น หลังจากที่เด็กน้อยไม่ยอมให้เพื่อนเล่นของเล่นของตนเอง แล้วร้องไห้เสียใจ
.
ด้วยท่าทีดังกล่าว ทุกคนชื่นชมว่า
1. ครูใจเย็นมากๆ ไม่ดุน้องเลย และพยายามเข้าปลอบน้อง
2. ครูใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลมาก
3. ครูใช้คำพูดพยายามปลอบ และสอนน้องไปในเวลาเดียวกัน
.
Role play นี้ได้รับการชื่นชมจากเพื่อนครูด้วยกันอย่างมาก ในการแสดงเหตุการณ์จำลอง เพื่อฝึก EF (Executive Function) ให้กับเด็ก
.
แต่หลังจากอ่านแล้ว รู้สึกว่านี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ทำ ใช่หรือไม่คะ
❌ ปลอบเด็ก พูดกับเด็กในขณะที่เขาร้องไห้อยู่ หรือยังสะอึกสะอื้นอยู่
❌ พยายามสอนเด็กทุกครั้งที่มีการพูดคุย โดยไม่เข้าใจเด็กก่อน
❌ กล่าวโทษ หรือออกแนวข่มขู่ ว่าเพื่อนจะไม่เล่นด้วย ถึงแม้จะใช้นำเสียงอ่อนนุ่มและด้วยความตั้งใจที่ดีก็ตาม
.
⛔ ครูพัชจะบอกว่า
ผิดหลักการ ของการพัฒนา EF (Executive Function) ทั้งหมดเลย
.
ในเหตุการณ์เช่นนี้
1. สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับเด็กก่อนด้วยการนั่งอยู่ข้างๆ กอด เอามือแต่ไหล่เบาๆ หรือจับมือ ตามที่เด็กอนุญาต ที่ทำให้เค้ารู้สึกปลอดภัยโดยไม่ต้อง พูดอะไร และรอจนกว่าน้องจะหยุดร้อง เพราะสมองส่วน EF (Executive Function) จะไม่ทำงาน ถ้าสมองส่วนอารมณ์ ยังทำงานหนักอยู่ ต้องรอค่ะ…รอ
.
2. เมื่อน้องหยุดร้อง ให้ใช้คำถาม EF (Executive Function) ในการพูดคุย
ครู : หนูรู้สึกเสียใจที่เพื่อนแย่งของเล่นไปจากหนูใช่ไหมคะ?
… เน้นถามความรู้สึก ว่าน้องรู้สึกอย่างไร เค้าอาจจะไม่ได้เสียใจ แต่อาจจะโกรธ ตกใจ ไม่พอใจ หรือกลัวก็ได้ เราไม่อาจรู้ได้เลย ว่าน้องเคยมีประสบการณ์อะไรมาก่อน
.
❌ ห้ามยัดเยียดความรู้สึกเราให้น้องเด็ดขาด
.
… เมื่อถามจนเข้าใจความรู้สึกของน้องแล้ว น้องจะรู้สึกปลอดภัย รู้สึกว่าเราเข้าใจเขา เป็นพวกเดียวกันและจะเกิด Trust ขึ้น สมองส่วน EF (Executive Function) จะเริ่มทำงาน
.
3. ก็ใช้โอกาสนี้ให้น้องฝึก EF (Executive Function) ทันที
ครู : ครูเข้าใจ ว่าหนูรู้สึก… ครั้งถัดไป แทนที่จะร้องไห้เวลาเพื่อนมาหยิบของเล่นของเรา เราจะทำอย่างไรดีคะ…
.
รอ… ให้น้องได้คิด หาวิธีจัดการครั้งถัดไปด้วยตัวของเขาเอง โดยครูไม่ต้องคิดแทนให้ และนี่ ถึงจะเป็นการฝึก EF (Executive Function) ให้กับเด็กๆ ได้อย่างแท้จริง
.
สัปดาห์ที่ผ่านมา ทีม ครูฟา ของ Genius School Thailand ได้มาร่วมทำกิจการ ฝึก EF (Executive Function) โดยให้คุณครูโรงเรียนปิยมิตรวิทยา จ.พะเยา กว่า 60 ชีวิต ได้ลองเล่น Role play สถานการณ์จริง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนจริง ให้คุณครูได้ฝึกกันอย่างสนุกสนาน และเป็นการฝึกปฎิบัติที่ใช้ได้จริงอีกด้วย
.
เป็น 2 วันที่มีความสนุกสนานมีเสียงหัวเราะพร้อมน้ำตาสลับกันไป รอยยิ้มของคุณครู ที่เข้าใจแล้วว่า จะนำ
ความรู้เรื่อง EF (Executive Function) ไปใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่เพียงทฤษฎีอีกต่อไป จะใช้ได้อย่างไร
.
รอติดตาม ชมความสำเร็จของอีก 1 โรงเรียน ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร เพื่อเด็กๆ อนาคตของชาติกันค่ะ
.
สนใจให้ทีม ครูฟา ของ Genius School Thailand ไปช่วยพัฒนาครูในด้านต่างๆ
ติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ
.
คอร์สพัฒนาโรงเรียนสำหรับเจ้าของโรงเรียน
https://geniusschoolthailand.com/school-founder-courses/
.
ร่วมเดินทางเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปพร้อมกับเรา
เปลี่ยนแปลง ชีวิตครูทีละคน
เปลี่ยนแปลง ชีวิตเด็กทีละคน
เปลี่ยนแปลง พ่อแม่ทีละคน
เปลี่ยนแปลง โรงเรียนทีละแห่ง
สร้างการเปลี่ยนแปลงทีละนิดในทุกวัน
.
ครูใหญ่พัช
พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
ผู้ก่อตั้ง Genius School Thailand
.
อัปเดตเมื่อ 13 มิถุนายน 2565