7 แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

“โรงเรียนขนาดเล็ก” ตามความหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ได้ระบุเอาไว้ว่า คือ สถานศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน
จากข้อมูลของ สพฐ. ในปี 2560 มีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กไปแล้วกว่า 100 โรง เนื่องจากไม่มีเด็กนักเรียน และในจำนวน 30,000 กว่าโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของ สพฐ. มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กน้อยกว่า 120 คน ประมาณ 15,000 โรง หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมด และในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 40 คน ประมาณ 1,000 โรงเรียน
ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก
ส่วนใหญ่ประสบปัญหาสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
1. โรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนต่อหัวที่สูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
จากภาวะประชากรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัญหานักเรียนออกกลางคัน และการเลือกทำงานหลังจบการศึกษาภาคบังคับ
2. ได้รับงบประมาณน้อยกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
ส่งผลให้โรงเรียนขนาดเล็กขาดทั้งอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนลดลง
3. ปัญหาการขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน
แม้โรงเรียนขนาดเล็กจะมีปัญหามากมาย และส่งผลถึงการจัดสรรงบประมาณ แต่เป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนนั้นๆ ได้เช่นกัน ด้วยพื้นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กจะกระจายตัวอยู่ในชุมชนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งถ้าชุมชนเข้มแข็งก็อาจเป็นโอกาสดี ที่จะสนับสนุนให้โรงเรียนเติบโตไปตามบริบทของชุมชนนั้นๆ อย่างมีคุณภาพได้
โรงเรียนขนาดเล็ก คือ หัวใจการพัฒนาชุมชน
Genius School Thailand เล็งเห็นว่าแท้จริงแล้วโรงเรียนขนาดเล็กคือ รากฐานสำคัญของชุมชน อีกทั้งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น และกระจายความรู้ให้ชุมชนเข้มแข็ง เราจึงมี 7 แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนี้

1. จัดทำแผนกลยุทธ์ Strategic plan ใหม่
วางกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาโรงเรียนใหม่ทั้งระบบ ตั้งแต่การทำแผนการเรียนการสอนแม้ครูไม่ครบชั้น พัฒนาครูเพื่อการสอนแบบใหม่
2. วางแผนทางการเงิน Budgeting plan
เพื่อเอื้อประโยชน์ทางด้านการศึกษาอย่างสูงสุด และตัดงบเก่าบางรายการออก นำไปเสริมกับแผนกลยุทธ์ใหม่ และการให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อลดค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่าง
3. สร้าง Alpha Team ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มครูที่เป็นครูยุคใหม่ เป็นคนในชุมชนเองที่รักบ้านเกิด มี Growth Mindset สามารถถ่ายทอด และกระจายความคิดการเปลี่ยนแปลงสู่เพื่อนครู
4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นใหม่
จัดอบรมครูทั้งระบบ พัฒนาทักษะครู เพื่อเปลี่ยนครูยุคเก่า เป็นครูยุคใหม่
5. สร้างห้องเรียนพ่อแม่
สื่อสารกับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นตรงกันกับสิ่งที่โรงเรียนทำ และสนับสนุนเด็กได้จากที่บ้านในทิศทางเดียวกับคุณครู
6. สร้าง Social Media ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้สู่ชุมชน
สร้างชุมชนให้มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลง รับรู้และเข้าใจในสิ่งที่โรงเรียนทำ เพื่อให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผู้เรียน ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, TikTok เป็นต้น
7. ปรับเปลี่ยนกิจกรรมในโรงเรียน
แสดงผลลัพธ์ของผู้เรียน ผ่านนิทรรศการต่างๆ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ ผ่านระบบการวางการตลาดที่ดี
เมื่อโรงเรียนขนาดเล็กเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาผู้เรียนในชุมชนให้มีความรู้ มีทักษะสำคัญติดตัว คนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะพร้อมสนับสนุนชุมชน และสร้างชุมชนให้แข็งแรงอย่างยั่งยืนต่อไป
ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กท่านใด สนใจพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน และพัฒนาทักษะครูยุคใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนโดยรอบของท่าน
ติดต่อทีมพัฒนาโรงเรียนของเราได้เลยนะคะ
LINE : @geniusschoolth
Genius School Thailand มีโปรแกรมพัฒนาโรงเรียน พัฒนาทักษะครู สำหรับเจ้าของโรงเรียนเอกชน ที่สนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนครบทั้ง 7 ด้าน ด้วยทีมวิทยากร ทีมพี่เลี้ยง ทีมเมนทอร์ ที่มีประสบการณ์ มีโปรแกรมระยะยาว 6 เดือน – 2 ปี ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และพลิกโฉมโรงเรียนได้จริง
https://geniusschoolthailand.com/school-founder-courses/