เด็ก GEN Z ที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจตัวตน และวิธีฝึก EF

“ทำไมลูกติดมือถือขนาดนี้ ถ้าไม่มีเน็ตจะเป็นอย่างไร?”
คำตอบคือ “ตายสนิท” 

.

เพราะเด็ก GEN Z เกิดมาพร้อมกับการมีมือถือใช้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องปกติ การไม่มีมือถือจึงเป็นเรื่องที่จินตนาการไม่ออกเลยว่า ชีวิตจะอยู่ได้อย่างไร ซึ่งแตกต่างกับคน GEN X หรือ GEN Y ต้นๆ ที่เคยผ่านช่วงชีวิตที่ยังไม่มีมือถือ หรืออินเตอร์เน็ตยังโบราณอยู่ เลยมีชีวิตออฟไลน์เป็นอยู่บ้าง นี่ไม่ใช่เรื่องเกินจริง แต่เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจ และรู้จักวิธีการส่งเสริม EF (Executive Function) แทนการบ่น หรือดุว่าเด็กๆ

.

ครอบครัวเรามีกี่ GEN

– Silent Generation

เกิดปี 2471 -2488 ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง จนจบสงครามโลกครั้งที่สองพอดี

อายุ 94 – 77 ปี วัยของปู่ย่าตายายไปจนคุณทวด

.

– Baby Boomer

เกิดปี 2489 – 2507 ยุคหลังสงครามโลกมีประชากรเกิดมาก

อายุ 76 – 58 ปี ประชากรวัยเกษียณและใกล้เกษียณ มีจำนวนมากที่สุด

.

– GEN X

เกิดปี 2508 – 2523 เป็นยุคกลางเก่ากลางใหม่

อายุ 57 – 42 ปี เป็นวัยที่เป็นพ่อแม่ของคน Gen Z เป็นส่วนใหญ่

.

– GEN Y (Millennial)

เกิด 2524 – 2539 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ทิศทางยังไม่แน่นอน

อายุ 41 – 26 ปี

.

– GEN Z

เกิดปี 2540 – 2555 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี

อายุ 25 – 10 ปี

.

– GEN Alpha

เกิดปี 2556 – ปัจจุบัน เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี 100%

อายุ 9 ขวบลงมา

.

บ้านที่มีหลายวัยอยู่ด้วยกัน 

บางครั้งก็เป็นเรื่องสนุกที่ปู่ย่าตาทวด เล่าเรื่องในอดีตแสนนานมาแล้วให้ลูกหลานที่ฟังราวกับเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่คนเราจะใช้ชีวิตอยู่แบบนั้นได้อย่างไรกัน

.

แต่บางครั้งก็ไม่สนุกเมื่อความแตกต่างของ GEN กลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะ GEN X กับ GEN Z ในสถานะพ่อแม่และลูกนั่นเอง ปัญหาของสอง GEN นี้หนักหนากว่า Baby Boomer ขึ้นไปกับ GEN Y ลงมา เนื่องจาก Baby Boomer คือคนในวัยเกษียณหรือใกล้เกษียณแล้ว ไม่ได้มีความรับผิดชอบโดยตรงกับลูก ส่วนใหญ่จะเลี้ยงหลานแบบตามใจ ไม่เห็น ไม่คิดว่า การติดมือหรือติดสื่อจะเป็นปัญหาอะไรมากมาย อาจด้วยวัยที่ต้องการพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานหนักมาตลอดชีวิตแล้วก็ได้

.

ในขณะที่พ่อแม่วัย GEN X คือคนตรงกลางที่รับเอาวัตนธรรม ความคิดแบบคนรุ่นพ่อแม่ แต่ปัจจุบันอยู่ในวัยทำงานที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างหนัก ความต้องการรักษาสิ่งที่ตัวเองเคยได้ผ่านประสบการณ์แบบนั้นมา กลายเป็นความกดดันสำหรับลูก GEN Z ที่ไม่ได้เข้าใจบริบทสังคม วัฒนธรรมยุคพ่อแม่ แถมเกิดมาในยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี ที่ทำให้รับรู้เรื่องราวได้หลายแง่มุมมากกว่า จนทำให้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกัน ยิ่งพ่อแม่ที่คาดหวังจะให้ลูก GEN Z ใช้ชีวิตเจริญรอยตามพ่อแม่มากเท่าไหร่ ยิ่งกลายเป็นปัญหา สร้างรอยร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ

.

GEN Z คืออะไร?

GEN Z เป็นเด็กที่เกิดบนยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี มีอุปกรณ์สื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เข้ามามีบทบาทอย่างมาก

เกิดในปี พ.ศ. 2540 – 2555

อายุ 25 – 10 ปี ปัจจุบันเป็นกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น

.

สิ่งที่เด็ก GEN Z เติบโตมา

– GEN Z เป็นเด็กยุค “ดิจิตอล” คือการเติบโตมาพร้อมกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกชนิดได้ทันที ทำให้เสพติดข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ชอบการตกข่าว

.

– มือถือหรือสมาร์ทโฟน ถือเป็นอวัยวะ ไม่ใช่อุปกรณ์สื่อสาร ห่างตัวไม่ได้ เงินหายยังยืมคนอื่นได้ แต่มือถือหายเหมือนแขนขาด

.

– มีความต้องการ Connect เชื่อมโยงกับคนอื่นในสังคมแบบออนไลน์อยู่เกือบตลอดเวลา การติดต่อสื่อสารไม่จำกัดขอบเขตสัญชาติ วัฒนธรรม มีความเปิดกว้างสูง

.

– เป็นมนุษย์หลายงาน การชอบความรวดเร็วและสนุกกับการเห็นข้อมูลเยอะๆ ทำให้มีความสามารถในการทำหลายๆ งานได้พร้อมๆ กัน เช่น เปิดหลายหน้าจอเวลาทำงานหรือทำการบ้าน

.

– สนใจความเห็นของคนอื่นสูง พูดตรงๆ คือทั้งความเห็นของคนอื่นที่มีต่อตัวเองและความเห็นของคนที่มีต่อคนอื่นๆ ด้วย ด้วยการเติบโตมากับข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ก็ถือเป็นข้อมูลประเภทหนึ่งที่อยากจะรู้ โดยเฉพาะความเห็นที่เกี่ยวกับตัวเองจะแคร์เป็นพิเศษ

.

ปัญหาที่พบในเด็ก GEN Z

– ความอดทนต่ำ สมาธิค่อนข้างสั้น ผลที่เกิดมาจากยุคที่ข้อมูลมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้มีความอดทนต่ำไปด้วย การต้องรอเกิน 1 นาที จึงยาวนานเหมือนเป็นชั่วโมง ทำอะไรชอบความรวดเร็วเป็นหลัก

.

– ชอบการติดต่อผ่านสื่ออื่นมากกว่าการพบปะ พูดคุยกันตัวต่อตัวจริง ด้วยความเคยชินในการติดต่อสื่อสารแบบสั้นๆ ผ่านภาพหรือตัวหนังสือ ทำให้ไม่คุ้นชินกับการต้องคุยกับคนตัวต่อตัวจริงๆ มักเลี่ยงด้วยการเล่นมือถือแทน

.

– ชอบการใช้ชีวิตเสมือนจริง มีความสนุกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ

.

– มีคำถาม “ทำไม?” อยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็ไม่ได้ตั้งใจจะต่อต้าน แต่ความที่เกิดในยุคข้อมูลข่าวสารเต็มไปหมด การบอก อะไรสักอย่างให้เชื่อโดยไม่ได้มีเหตุผลสนับสนุนที่ถูกต้องหรือยอมรับได้มากพอ ทำให้เกิดคำถามอยู่ตลอดเวลาและพร้อมจะตรวจสอบข้อมูล

.

– มีแนวโน้มจะเลือกงานที่ได้รับค่าตอบแทนดีกว่างานที่สนใจจริง เนื่องจากเห็นโอกาสอยู่ตลอดเวลา อะไรที่น่าสนใจเข้ามาก็อยากคว้าไว้

.

– ไม่ยึดติดกับองค์กรหรืออะไร ไม่ชอบอยู่ที่เดิมๆ ซ้ำๆ นานๆ ต้องการอะไรใหม่ อิทธิพลจากการติดเกม เกิดมากับเกมออนไลน์การต้องไปสู่เลเวลต่อไป มีความสำคัญ ถ้าเล่นเกมนี้จบแล้ว เบื่อแล้ว ชนะแล้ว ก็ไม่อยากเล่นซ้ำ ต้องการความท้าทายใหม่ๆ ชอบอะไรใหม่ๆ มากกว่า

.

สิ่งที่พ่อแม่ควรฝึกฝน “EF” ให้เด็ก GEN Z

– ลดการเร็วเกินไป จะเรียกว่า ฝึกความอดทนก็ไม่ใช่เสียทีเดียว ความเร็วในที่นี้ จะเป็นการตัดสินใจอะไรแบบเร็วเกินไป เลือกทำ เลือกพูดไวไปจนก่อให้เกิดอันตรายหรือผิดพลาดได้สูง ขาดความรอบคอบ การแชร์อะไรเร็วเกินไปไม่เช็คข้อมูล การตอบกลับด้วยความไวก่อนพิจารณาข้อดี-ข้อเสียให้ถ้วนถี่

.

–  การฝึก EF (Executive Function) ฝึกสมาธิ ฝึกทำอะไรช้าๆ จดจ่อและสังเกต อย่างการเล่นต่อ จิ๊กซอตัวเล็กๆ 500 ชิ้น ก็จะช่วยเพิ่มความละเอียด ลดความต้องการให้เสร็จเร็วไปได้มาก ชวนเล่นเกมประเภทที่ต้องใช้ความละเอียดก่อนตัดสินใจบ้างอย่าปล่อยให้เล่นแต่เกมใช้ความไวไม่สนใจใครอย่างเดียว

.

– ช่วยให้ลูก ค้นหาตัวเอง ความถนัด เพื่อสร้างความสำเร็จในแบบตัวเองได้เร็วขึ้น เด็กๆ ยุคข้อมูลข่าวสารมีแนวโน้มจะไหลไปเรื่อยกับสิ่งตรงหน้าสูง ในโลกดิจิตัล มีอะไรเข้ามานำความสนใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลุดโฟกัสได้ง่าย รวมไปถึง การเห็นคนอื่นมีงานบางอย่างได้เงินดี มีโอกาสนั้น โอกาสนี้น่าลองไปหมดอยู่ตลอดเวลา ทำให้เสียเวลาไปกับการทดลองเรื่อยเปื่อยได้ไม่มีที่สิ้นสุด พ่อแม่ควรช่วยลูกไม่ให้จับจดไปเรื่อยๆ หาก ค้นหาตัวเอง เจอแล้ว ควรส่งเสริมให้จดจ่อเพื่อพัฒนาศักยภาพ โดยให้เรื่องอื่นๆ เป็นงานอดิเรกดีกว่า

.

– ฝึกวินัยด้วย EF (Executive Function) ที่ดี ทำสิ่งต้องทำให้เสร็จทีละอย่าง สืบเนื่องมาจากสมาธิที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากการอยู่ในโลกดิจิตัลตลอดเวลา แม้ว่าจะบอกว่าเป็นความสามารถในการทำงานได้หลายๆ อย่างพร้อมกันก็ตาม แต่ความเป็นจริงแล้ว งานหลายๆ อย่างที่ทำอยู่อาจจะไม่มีงานไหนเสร็จสมบูรณ์ดีจริงๆ สักอย่างก็ได้ ควรฝึกให้ทำงานเสร็จเป็นเรื่องๆ ไป เสร็จแบบมีสมบูรณ์จริงๆ จะดีกว่าปล่อยให้ทำหลายๆ อย่าง แต่ไม่ดีสักอย่าง จนเป็นนิสัย

.

– ปิดการรับรู้ภายนอก มาสำรวจภายในบ้าง ข้อนี้อาจจะเป็นเรื่องยากที่สุด แต่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กๆ (จริงๆ แล้วก็สำหรับพ่อแม่ที่ติดมือถือหนักด้วยเหมือนกัน) ใช้การสวดมนต์ นั่งสมาธิ การไปวัด เป็นช่วงได้ปิดโลกภายนอกเป็นระยะสั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้าน แต่ใช้ความถี่มาช่วยฝึก เด็ก GEN Z มีแนวโน้มจะอยู่กับข้างนอกตลอดเวลา ไม่ได้เคยสำรวจโลกภายในตัวเองบ้าง โดยเฉพาะการสนใจเรื่องความคิดเห็นของคนอื่นจนมาอิทธิผลต่อตัวเองมากไป ต้องทำให้โลกภายในของลูกแข็งแรง เป็นที่ยึดของตัวเองยามต้องเจอปัญหาให้ได้

.

คลาส อบรมพ่อแม่ เพื่อเข้าใจเด็ก GEN Z และเด็กยุคใหม่
https://geniusschoolthailand.com/course/onlinecourse/

.

คลาส Talent Dynamics เพื่อเข้าใจการ ค้นหาตัวเอง ของเด็กๆ
https://geniusschoolthailand.com/course/talent-dynamics/

.

คลาส EF (Executive Function) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมเด็กๆ
https://geniusschoolthailand.com/course/ef/

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า